Monday, 26 January 2015

Led Zeppelin BBC Sessions Liner Notes

"Led Zeppelin BBC Sessions"
Liner notes by Luis Rey (1997)


-----
ก่อนหน้านี้เราอาจจะหาฟังงานบันทึกเสียงจากรายการวิทยุที่ Led Zeppelin แสดงไว้ได้บ้าง และส่วนใหญ่จะไม่ใช่งานที่ออกมาเป็นทางการ, จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้
การบันทึกเสียงที่บีบีซีชุดนี้ได้บันทึกงานระดับหัวกะทิของเลด เซพพลินในช่วงที่พวกเขาดิบและสดที่สุด
สำหรับวงที่ทำงานในห้องอัดแบบหลงใหลในความสมบูรณ์แบบอย่างเซพพลิน แนวคิดของการออกอากาศการแสดงแบบตรงไปตรงมา, อิมโพรไวส์และส่วนมากจะไม่มีการอัดทับ,ดูเหมือนจะเป็นการท้าทายอย่างยิ่งยวด แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นรูปแบบของการท้าทายที่แฟนเซพพลินรุ่นแรกๆสามารถคาดหวังได้จากวง.... พวกเขาอยู่ในกลุ่มเดียวกับศิลปินที่สามารถเล่นเพลงๆเดียวในสิบเวอร์ชั่น,ด้วยความยาวพอๆกัน,และแต่ละเวอร์ชั่นกลับมีสุ้มเสียงที่ต่างกันออกไปอย่างมากมาย
โดยพื้นฐานแล้ว เลด เซพพลินเป็นวงที่เล่นดนตรีแบบอิมโพรไวส์ ความตื่นเต้นของผู้มีโอกาสเข้าไปชมคอนเสิร์ตของพวกเขาก็คือได้เข้าร่วมการเดินทางที่ไม่มีใครทราบว่าพวกเขาจะพาไปไหนหรือจะไปไกลแค่ใด
ด้วยชื่อเสียงในด้านการแสดงของพวกเขา เซพพลินจึงมักจะระมัดระวังเสมอว่าสื่อจะนำเสนอพวกเขาออกมาในรูปแบบใด การออกอากาศทางวิทยุในยุคซิกซ์ตี้ส์นั้นจะทำกับศิลปินเหมือนสินค้าเพลงฮิตยาวสองนาที เลด เซพพลินไปที่นั่นเพื่อแหกกฎและอยู่เหนือแนวทางเดิมๆของสื่อในยุคนั้น ไม่มีส่วนไหนของการบันทึกเสียงในเซ็ตนี้ที่มีความตั้งใจจะนำออกเสนอในรูปแบบอื่นๆนอกจากทางวิทยุ แต่กลับกลายเป็นว่าข้อจำกัดของการเล่นในสตูดิโอและการออกอากาศกลายเป็นการเพิ่มความเข้มข้นให้กับประสบการณ์การเล่นสดของเลด เซพพลิน
แต่ก่อนอื่น,เรามาเข้าใจกันก่อนว่าการแสดงเหล่านี้อยู่ในบริบทของอะไรที่เป็นชิ้นส่วนของประวัติศาสตร์ของพวกเขา เลด เซพพลินเลือกการแสดงจากรายการ 'Top Gear' ของ John Peel อันโด่งดัง, 'Tasty Pop Sundae' ของ Chris Grant และซีรีส์ 'In Concert' ของ Radio One เพื่อนำมาออกอากาศทางวิทยุในอังกฤษ
จากการแสดงในรายการ 'Top Gear' เซสชั่นแรกสุดนั้นบันทึกเสียงกันในวันที่ 3 มีนาคม 1969 และออกอากาศในวันที่ 23 มีนาคม พวกเขาเพิ่งเสร็จจากการทัวร์อเมริกาครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและกำลังจะไปออกทัวร์สแกนดิเนเวียเป็นครั้งที่สอง เพลง You Shook Me, I Can't Quit You Baby และ Dazed and Confused จะมีจังหวะเชื่องช้าอย่างจงใจ, เล่นกันแบบเรียบง่าย กระชับ แต่ก็เต็มไปด้วยความโลดโผน-ช่างเป็นการเรียงร้อยศิลปะที่ฟังแล้วสุดฟิน มันสุดยอดเสียจนคลังบรรจุเพลงบลูส์ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในหัวของแพลนต์สั่งให้เขาออกแบบเพลงใหม่โดยนำบางท่อนจาก Nineteen Years Old ของ Muddy Waters มาใช้ใน I Can't Quit You และสรรสร้างเนื้อเพลงใหม่ให้กับ Dazed And Confused นี่เป็นการออกอากาศทางวิทยุของเลด เซพพลินครั้งแรกในอังกฤษ- สั้น แต่เข้มข้น
พวกเขาบันทึกเสียงเซสชั่นของรายการ Tasty Sundae ของ Chris Grant ในวันที่ 16 มิถุนายน 1969 (ออกอากาศจริงวันที่ 22 มิ.ย.) -ห่างจากเซสชั่นแรกเพียงสามเดือน- แต่ความแตกต่างนั้นกลับมหาศาล ถึงเวลานั้นพวกเขาเริ่มต้นทำอัลบั้ม Led Zeppelin II กันแล้วและกำลังจะเริ่มออกทัวร์อเมริการอบสาม งานนี้พวกเขาดุดันและไม่ประนีประนอมยิ่งขึ้นกว่าเซสชั่นในเดือนมีนาคม และเพลงเหล่านี้ยังได้รับอานิสงค์จากการอัดทับ(overdub)อีกด้วย เพลง The Girl I Love ที่ได้ท่อนริฟฟ์สุดมันส์และเนื้อร้องบางส่วนมาจาก Sleepy John Estes (ตอกย้ำด้วยการฟาดกลองอันหนักแน่นของบอนแฮมและท่อนโซโลสวยๆจากเพจ)-เพลงนี้ไม่เคยออกขายเป็นทางการมาก่อน เช่นเดียวกับเพลง Somethin' Else ที่เล่นกันไฟแล่บ ส่วน Communication Breakdown ในเซสชั่นนี้มีท่อนแทรกตรงกลางอันแช่มช้าและเร้าใจ 'Just A Little Bit funky'
วันที่ 24 มิถุนายน 1969 (ออกอากาศ 29 มิ.ย.) พวกเขามาเล่นในรายการ Top Gear ของ John Peel เป็นครั้งที่สอง งานนี้พวกเขาเลือกเพลงมาเล่นได้หวือหวาซี๊ดซ๊าดที่สุด,มีสองเพลงจากอัลบั้มที่สองที่ยังไม่ออกในตอนนั้นและอีกแทร็คที่ไม่เคยออกมาก่อน เพลง What Is And What Should Never Be ได้รับการตกแต่งอย่างเต็มเหนี่ยวด้วยกีต้าร์สไลด์ใส่เอ็คโคและการเดินเบสที่สลับซับซ้อนที่สุดของจอห์น พอล โจนส์ และนี่ยังเป็นการเปิดตัวของ gong ของบอนแฮมครั้งแรกในการออกอากาศ Travelling Riverside Blues เป็นผลพวงจากเพลงบลูส์ของ Robert Johnson... แพลนต์คร่ำครวญประโยคสุดโปรด "squeeze my lemon' ท่ามกลางการโลดแล่นของเสียงสไลด์กีต้าร์ แต่มันกลับเป็นการออกอากาศครั้งแรกของ Whole Lotta Love ที่กวาดต้อนเราเข้าสู่คลื่นพายุแห่งสรรพเสียง มันเป็นเวอร์ชั่นที่แตกต่างไปจากในสตูดิโออัลบั้มอย่างยิ่ง,และอาจจะยอดเยี่ยมกว่าเสียอีก เพจไม่พูดพล่าม เขาทำเพลงด้วยการเข้าริฟฟ์อันโด่งดังและเต็มไปด้วยความดื่มด่ำทางดนตรีนั้นทันที ขณะที่เสียงร้องอันเข้มกระจ่างของแพลนต์คืบคลานเข้ามา, รอคอยให้ส่วนที่เหลือของวงก้าวเข้ามาเผาเวทีให้ลุกโชน ตามด้วยท่อน Theremin ที่นำไปสู่ท่อนวาห์-วาห์กีต้าร์โซโล่ที่ยืดยาวออกไปสองห้อง ปิดท้ายด้วยการห้อตะบึงสู่เส้นชัยประชันกันระหว่างเสียงร้องของแพลนต์และเครื่องดนตรีทั้งหมด
หลังจากเซสชั่นสุดยอดนี้แล้ว,ทางวงก็พร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยง: มันคือการจำลองการแสดงคอนเสิร์ตแบบเซพพลินในเดือนมิ.ย.69 ให้มาอยู่ในการออกอากาศทางวิทยุ โดยพวกเขาเล่นสดต่อหน้าผู้ขมจริงๆ พวกเขาเล่นกันที่ Playhouse Theatre สำหรับรายการ BBC Rock Hour ในวันที่ 27 มิถุนายน 1969 มันได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับการนำเสนอดนตรีร็อคทางวิทยุ และพวกเขาก็อยู่ในฟอร์มสุดยอด การเปิดตัวด้วยเพลง Communication Breakdown ควบกับ I Can't Quit You ตัดฉับกับความเชื่องช้าอันหนักแน่นวายป่วงของ You Shook Me (โดดเด่นเป็นพิเศษในรายการนี้ด้วยการโซโล่ออร์แกนสุดเก๋าจากโจนส์) ส่วนใน How Many More Times พวกเขาเลือกวิธีการเฉลิมฉลองมันในรูปแบบที่ต่างจากตอนต้นปี 1969 ไม่มีการใช้คันสีไวโอลินสุดหลอนในตอนกลางเพลงอีกต่อไป แต่กลายเป็นโซโล่กีต้าร์แบบ 'Bolero' และในตอนนี้,ถ้าคุณตั้งใจฟัง,มันจะอยู่ท่่ามกลางความโกลาหลที่เหมือนจะไร้จุดจบ แพลนต์จำได้ว่าเขาไม่รู้ว่าร้องอะไรออกไปบ้างในตอนนั้น รู้แต่เพียงว่าเขาเมามันเหลือเกิน - แพลนต์ระรัวลิ้นพ่นถ้อยคำสุดโปรด 'squeeze my lemon' จากเพลงบลูส์ของโรเบิร์ต จอห์นสันอีกครั้งไปบนความตื่นเต้นทั้งมวลเพื่อรักษาความสมดุลย์
สิ่งหนึ่งที่น่าตราตรึงใจของเลด เซพพลินก็คือในวันเวลานั้นพวกเขาเล่นดนตรีกันราวกับว่าทุกๆคอนเสิร์ตจะเป็นงานสุดท้าย และนี่เป็นเหตุผลที่ทำไมเซสชั่นเหล่านี้ถึงได้เป็นอมตะ...มันฟังราวกับเพิ่งบันทึกเสียงเมื่อวานนี้
สำหรับเซสชั่นสุดท้ายเราจะเดินทางไปอีกสองปีเข้าสู่รายการ BBC Rock Hour ของจอห์น พีล ที่อัดเสียงกันที่ Paris Studios ในลอนดอน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1971 (ออกอากาศ 4 เมษายน) นี่น่าจะเป็นการออกรายการวิทยุที่โด่งดังที่สุดของพวกเขาและมีการทำบู๊ตเลกกันมานับครั้งไม่ถ้วนและทุกๆรูปแบบ (รวมทั้งการถูกตัดต่อเข้าไปรวมกับบางส่วนของเซสชั่นในปี 1969!) การแสดงนี้เป็นไปในแบบเดียวกับงานอื่นๆของเขาในช่วงต้นปี 1971 โดยที่พวกเขาอยู่ในช่วงระหว่างทัวร์อังกฤษ 'Return To The Clubs'
ไฮไลท์ของงานนี้ก็คือการพรีวิวเพลงจากอัลบั้มชุดที่4 ที่จะยังไม่ออกขายจนอีก 8 เดือนข้างหน้า อย่างเพลง Black Dog (ที่มีอินโทร 'Out On The Tiles' จากบอนแฮม),Going To California และการออกอากาศครั้งแรกของเพลง Stairway To Heaven ไม่มีเสียงปรบมือต้อนรับท่อนเปิดตัวของเพลง, มีเพียงแต่ลมหายใจของความคาดหวังจากผู้ชมในสตูดิโอที่นั่งเงียบกริบ ในเวอร์ชั่นเก่าแก่นี้คุณแทบจะ"เห็น" เพจกำลังเปลี่ยน fretboards บนกีต้าร์สองคอตัวใหม่ของเขา มันมีความตึงเครียดในบรรยากาศต่างจากความตื่นเต้นล้นพ้นในปี 1969 ช่วงเวลาอันน่าอัศจรรย์เป็นไปในทางความลึกล้ำมากกว่าความเมามัน Dazed and Confused ของเพจส่งให้ทุกคนโบยบินกันในท่อนสุดท้ายที่หลุดโลกกันเป็นพิเศษ และใน Whole Lotta Love การหยุดเล่นพร้อมกันอย่างประจวบเหมาะจนแทบจะเหมือนเป็นเรื่องอุบัติเหตุของทุกคนหลังจากท่อนโซโล่ Theremin อันหลอนแหลกราญนั้น...อาจกล่าวได้ว่าเป็นนิยามของคำว่า หนักแน่นแต่พลิ้วพราย (tight-but-loose)
อีกมุมที่ขึ้นชื่อของเลด เซพพลินในด้านการเป็นวงคัฟเวอร์ชั้นยอดก็ถูกนำเสนอเป็นอย่างดี ณ ที่นี้ : ท่อนเมดเลย์ของเพลงคลาสสิกอันไหลลื่น เริ่มจาก Boogie Chillun ของ John Lee Hooker, Truckin' Little Mama, Fixin' To Die, That's Alright Mama และ A Mess of Blues ส่งเสริมด้วยกีต้าร์โซโล่ชั้นเลิศของจิมมี่ เพจ เสียงออร์แกนของโจนส์เริ่มต้นเพลง Thank You เป็นการปิดฉากการแสดงที่แน่นและกระชับ (แม้ว่าจะตื่นตระหนกในบางลีลา)
ซีดีคู่ชุดนี้เป็นอะไรที่มากไปกว่าการรวมเพลงจากการออกอากาศทางบีบีซี อันจับเอาช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ของวงและมันเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์และยังเป็นการให้ความคารวะแก่ดนตรีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเลด เซพพลินในฐานะนักดนตรี แม้ว่าคุณภาพของการบันทึกเสียงนี้จะไม่ใช่ในระดับเดียวกับในอัลบั้มสตูดิโอของพวกเขา.....สำหรับบางคน,นี่คือ เลด เซพพลินเพียวๆ ในทุกๆด้านไม่ว่าดีหรือร้าย แต่ความสมบูรณ์แบบด้านเทคนิคไม่ใช่สิ่งที่มีความหมายอย่างแท้จริงสำหรับเรา;เราปรารถนาซึ่งความคิดสร้างสรรค์และความกล้าได้กล้าเสีย
ช่วงเวลาแห่งความคิดสร้างสรรค์อย่างฉับพลันเพียงช่วงเดียวที่ถูกบันทึกไว้ได้มีค่ามากกว่าความสมบูรณ์แบบจากคอมพิวเตอร์นับพันชั่วโมง และทุกคนจะยังสามารถค้นพบความคิดสร้างสรรค์แบบนั้นได้ในการแสดงของ Led Zeppelin ในอัลบั้มนี้
CD One
1. YOU SHOOK ME 5:14
(Willie Dixon, J. B. Lenoir)
‘Top Gear’
Recorded 3.3.69. Transmitted 23.3.69
(Arc Music/Hoochie Coochie Music, BMI, adm. by Bug Music)
2. I CAN’T QUIT YOU BABY 4:22
(Willie Dixon)
‘Top Gear’
Recorded 3.3.69. Transmitted 23.3.69
(Hoochie Coochie Music, BMI, adm. by Bug Music. Contains sample of “19 Years Old” by Muddy waters, published by Watertoons Music, BMI, adm. by Bug Music)
3. COMMUNICATION BREAKDOWN 3:12
(Jimmy Page, John Paul Jones, John Bonham)
‘Chris Grant’s Tasty Pop Sundae’
Recorded 16.6.69. Transmitted 22.6.69
4. DAZED AND CONFUSED 6:39
(Jimmy Page)
‘Top Gear’
Recorded 3.3.69. Transmitted 23.3.69
5. THE GIRL I LOVE SHE GOT LONG
BLACK WAVY HAIR 3:00
(Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones, John Bonham, John Estes)
‘Chris Grant’s Tasty Pop Sundae’
Recorded 16.6.69. Transmitted 22.6.69
(Southern Music Publishing Company Inc., ASCAP)
6. WHAT IS AND WHAT SHOULD NEVER BE 4:20
(Jimmy Page, Robert Plant)
‘Top Gear’
Recorded 24.6.69. Transmitted 29.6.69
7. COMMUNICATION BREAKDOWN 2:40
(Jimmy Page, John Paul Jones, John Bonham)
‘Top Gear’
Recorded 24.6.69. Transmitted 29.6.69
8. TRAVELLING RIVERSIDE BLUES 5:12
(Jimmy Page, Robert Plant, Robert Johnson)
‘Top Gear’
Recorded 24.6.69. Transmitted 29.6.69
(Flames of Albion Music Inc. ASCAP/King of Spades Music, BMI)
9. WHOLE LOTTA LOVE 6:09
(Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones, John Bonham, Willie Dixon)
‘Top Gear’
Recorded 24.6.69. Transmitted 29.6.69
10. SOMETHIN’ ELSE 2:06
(Sharon Sheeley, Bob Cochran)
‘Chris Grant’s Tasty Pop Sundae’
Recorded 16.6.69. Transmitted 22.6.69
(Money Honey Music/Robert Cochran Music, adm. by EMI Unart Catalog Inc., BMI)
11. COMMUNICATION BREAKDOWN 3:05
(Jimmy Page, John Paul Jones, John Bonham)
‘One Night Stand’ – Playhouse Theatre,
London. Recorded 27.6.69. Transmitted 10.8.69
12. I CAN’T QUIT YOU BABY 6:21
(Willie Dixon)
‘One Night Stand’ – Playhouse Theatre,
London. Recorded 27.6.69. Transmitted 10.8.69
(Hoochie Coochie Music, BMI, adm. by Bug Music)
13. YOU SHOOK ME 5:14
(Willie Dixon, J. B. Lenoir)
‘One Night Stand’ – Playhouse Theatre,
London. Recorded 27.6.69. Transmitted 10.8.69
(Arc Music/Hoochie Coochie Music, BMI, adm. by Bug Music)
14. HOW MANY MORE TIMES 11:51
(Jimmy Page, John Paul Jones, John Bonham)
Contains samples from ‘The Lemon Song’ by Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones, John Bonham, Chester Burnett published by Arc Music Corp., BMI/Sunflower Music Inc. ASCAP
‘One Night Stand’ – Playhouse Theatre,
London. Recorded 27.6.69. Transmitted 10.8.69
All songs published by Superhype Publishing Inc.
All rights administered by WB Music Corp. ASCAP unless otherwise indicated.
__________________________________________________
CD Two
1. IMMIGRANT SONG 3:20
(Jimmy Page, Robert Plant)
2. HEARTBREAKER 5:16
(Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones, John Bonham)
3. SINCE I’VE BEEN LOVING YOU 6:56
(Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones)
Not transmitted
4. BLACK DOG 5:17
(Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones)
Not transmitted
5. DAZED AND CONFUSED 18:36
(Jimmy Page)
6. STAIRWAY TO HEAVEN 8:49
(Jimmy Page, Robert Plant)
7. GOING TO CALIFORNIA 3:54
(Jimmy Page, Robert Plant)
8. THAT’S THE WAY 5:43
(Jimmy Page, Robert Plant)
9. WHOLE LOTTA LOVE (MEDLEY) 13:45
(Jimmy Page, Robert Plant, John Paul Jones, John Bonham, Willie Dixon)
‘BOOGIE CHILLUN’
‘FIXIN’ TO DIE’
‘THAT’S ALRIGHT MAMA’
‘A MESS OF BLUES’
Contains samples from ‘Boogie Chillun’ by John Lee Hooker, Bernard Bestman, published by La Cienega Music Company, BMI; ‘Fixin’ To Die’ by Bukka White, published by MCA Music Publishing, a division of Universal Studios Inc, ASCAP; ‘That’s Alright Mama’ by Arthur Crudup, published by Unichappell Music Inc/Crudup Music. All rights admin. By Unichappell Music Inc, BMI; ‘A Mess Of Blues’ by Doc Pomus, Mort Shuman, published by Elvis Presley Music, admin. By R&H Music World, BMI
10. THANK YOU 6:37
(Jimmy Page, Robert Plant)
Not transmitted
__________________________________________________
All songs on CD 2 recorded at the Paris Theatre, London 1.4.71 –
‘In Concert’ (Unedited)
All songs published by Superhype Publishing Inc.
All rights administered by WB Music Corp. ASCAP unless otherwise indicated.
Compilation and Mastering: Jimmy Page
Mastering engineer: Jon Astley
Artwork/Design: Andie Airfix at Satori.
Research: Ross Halfin.
Photography: Chris Walter/Photo Features; Penny Smith; Christian Rose; Barry Plummer; Jean Pierre Leloir; Claude Gassian; Hugh Crymble; Dick Barnet/Redferns
© 1997 Atlantic Recording Corporation. All Rights Reserved. Printed in U.S.A.
BBC Worldwide Music
The BBC word and logo are trademarks
Of the British Broadcasting Corporation.
A BBC Worldwide Music Production.
83061-2

Thursday, 8 January 2015

Jersey Boys

Jersey Boys (2014)
ว่าจะดูหนังเพลง+ประวัติของ Frankie Valli และ The
Four Seasons เรื่องนี้ตั้งแต่ปีก่อน แต่เพิ่งมีเวลาว่างก็
วันนี้.... ปู่คลินต์ อีสต์วู้ดในวัย 84 ยังคงฝีมือกำกับชั้นครู
นวลเนียน ลึกซึ้ง และสนุกสนานในแบบที่มันควรจะเป็น
หนังประเภท biopic ก็คงต้องจับประเด็นบางอย่างมานำ
เสนอ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะเสนอชีวิตทุกแง่มุมของตัว
ละครออกมาทั้งหมด และใน Jersey Boys นอกจากเรื่องดนตรีอันเป็นหลักแล้ว หัวข้อที่โดดเด่นออกมาก็คือมิตรภาพ
และการจัดการกับอุปสรรคที่เหมือนจะเกิดขึ้นได้เรื่อยๆใน
ชีวิต (ก็เป็นกันทุกคนแหละ)

หนุ่มๆนิวเจอร์ซีย์ในยุคต้นทศวรรษ 50's พวกเขาไม่มี
หนทางเลือกในชีวิตมากนัก และ แฟรงค์กี้ (ตอนนั้นยังใช้
ชื่อว่า Frankie Castelluccio และแสดงโดย John Lloyd
Young ) ก็เลือกทางดนตรี โดยมีการเป็นแก๊งค์สเตอร์ ลัก
เล็กขโมยน้อยควบไปด้วย เขามีรุ่นพี่ตัวแสบ Tommy
DeVito (แสดงโดย Vincent Piazza) เป็นหัวโจก ชี้นำ
ชีวิตในทุกๆด้านทั้งดีและร้าย เป็นทอมมี่ที่ทำให้เขาได้ขึ้น
ร้องเพลงเป็นครั้งแรก และทันทีที่ทุกคนได้ยินเสียงของ
แฟรงกี้ พวกเขาก็รู้ว่านี่คือเสียงจากสวรรค์ที่ไม่มีใครเหมือน
(บางคนอาจจะรับไม่ได้กับเสียงสูงแหลมเล็กแบบนั้น) นอก
จากเรื่องเพลง ทอมมี่ยังสอนวิธีจีบสาว การรับมือกับพวก
ต้มตุ๋น และการเป็นมิจฉาชีพเสียเอง สิ่งเหล่านี้ทอมมี่ทำ
ได้ลื่นไหลราวกับเป็นพรสวรรค์แต่กำเนิด
ต้องแซงคิวชมกลางคันว่าเสื้อผ้าหน้าผมและฉากของหนัง
เรื่องนี้สมจริงและเป็นธรรมชาติราวกับไปถ่ายในนิวเจอร์ซี่
ยุคนั้นจริงๆ
ตัวละครที่โดดเด่นอีกท่านก็คือ Gyp DeCarlo เจ้าพ่อ
ผู้ทรงอิทธิพลแห่งพื้นที่ (แสดงโดย Christopher
Walken) เขาเอ็นดูแฟรงกี้และเพื่อนมาตั้งแต่เด็กๆยังทำ
งานอยู่ร้านตัดผม ฝีไม้ลายมือในการแสดงของ Walken
นั้นคงไม่ต้องกล่าวอะไรกันมาก ออกมาแต่ละฉากก็เหมือน
ไม่ต้องดูใครอื่นกันหมด
ก็เหมือนกับวงดนตรีทั่วไปในยุคนั้น ที่ต้องเปลี่ยนสมาชิก
กันไป เล่นตามคลับไปวันๆ แต่จุดเปลี่ยนของพวกเขาก็คือ
การได้พบกับหนุ่มน้อยนักแต่งเพลงนาม Bob Gaudio
(แสดงโดย Erich Bergen) ทำให้พวกเขาได้มีเพลงของ
ตัวเองและนำไปสู่การได้สัญญาบันทึกเสียงในที่สุด (แบบมี
เส้นเล็กน้อย) โดย Bob ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวงด้วย
ในตำแหน่งคีย์บอร์ด
พวกเขาเปลี่ยนชื่อวงกันหลายครั้งก่อนจะจบที่ชื่อ The
Four Seasons และมีเพลงฮิตติดอันดับ 1 สามเพลงรวด
Sherry, Big Girls Don't Cry และ Walk Like A Man
ก่อนที่อุปสรรคใหม่ๆจะตามมากับความดังนั้น และทำให้
แฟรงกี้ต้องเป็นคนตัดสินใจว่าเขาจะเลือกอะไรระหว่าง
ความเป็นเพื่อนเก่าแก่ของเขากับทอมมี่หรืออนาคตของวง
มีช่วงเวลาดราม่าและความขัดแย้งอยู่นานพอสมควรจน
เกือบลืมว่านี่เป็นหนังเพลง
คลินต์สอดแทรกเรื่องราวเบื้องหลังการแต่งเพลงและการ
บันทึกเสียงเพลงดังลงไปในหนังอย่างชาญฉลาด,กระชับ
และเรียกรอยยิ้มได้ตลอด มีมุกเล็กๆที่บ๊อบนั่งดูทีวีใน
โรงแรมที่เป็นหนังคาวบอยที่คลินต์แสดงอีกด้วย
จอห์น ลอยด์ ยังก์ เล่นเป็นแฟรงกี้ในละครบรอดเวย์จน
คล่องแคล่ว เขาร้องเสียงหลบสูงได้อย่างน่าฟังอีกทั้งรูป
ลักษณ์ก็สมจริง แต่คนที่เด่นกว่าน่าจะเป็นวินเซนต์ในบท
ทอมมี่ เพราะสีสันและความเป็น"ร็อคสตาร์"ของเขามัน
แสบสันต์และน่าสมเพชเหลือเกิน
คลินต์คงไม่ได้ตั้งใจจะเก็บ Can't Take My Eyes Off
You มาไว้เป็นทีเด็ดช่วงท้าย เพราะเรื่องราวจริงๆมันก็
เป็นอย่างนั้น แต่อยากจะบอกว่าฉากนี้มันน่าตื่นเต้นจริงๆ
ในการที่ค่อยๆได้เห็นเพลงนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา รวมทั้ง
ลีลาการต่อรองของบ๊อบที่จะทำให้สังคมเพลงป๊อบยอมรับ
เพลงนี้ (ส่วนตัวผมก็คิดว่านี่เป็นเพลงป๊อบที่ยิ่งใหญ่มากๆ
ด้วย) มันเป็นฉากที่ตื่นเต้น แต่ไม่ได้ดูเวอร์จนเกินเลย
หนังมาขมวดปมตอนการกลับมาร่วมร้องเพลงกันอีกครั้ง
ของ Four Seasons ในวัยชราบนเวที Hall of Fame
ในปี 1990 และคลินต์ก็ใช้ลูกไม้ง่ายๆของการทำหนังทำ
ให้ฉากนี้ออกมาน่าประทับใจเหมือนมีเวทย์มนตร์
แต่ฉากจบจริงๆ(มาพร้อมเครดิต)กลับเป็น fantasy street
 dance ในเพลงDecember'63 (Oh What A Night) ที่ตัว
ละครทั้งหมดออกมาเต้นร่วมกันบนถนน รวมทั้ง Walken 
ด้วย เป็นการจบที่เพอร์เฟ็คมากครับ (ในเบื้องหลังจะได้
เห็นคลินต์ออกมาเต้นกับเค้าด้วยในตอนถ่ายทำ และเหล่า
ดาราก็เชียร์ให้เขามาเข้ากล้องจริงๆ แต่ผู้กำกับอาวุโสไม่
เอาด้วย "ผมไม่มีหน้าที่อะไรตรงนั้น")
เป็นหนังประวัตินักดนตรีนุ่มๆที่ไม่ถึงกับคลาสสิก อาจจะ
เป็นเพราะเรื่องราวของพวกเขาไม่ได้หวือหวาอะไรนัก แต่
คลินต์ก็ไม่ได้พยายามทำให้แฟรงกี้และวงดูใหญ่โตเกิน
ความจริงอะไร จุดเด่นคือเพลงเพราะๆ, เสื้อผ้าและฉากที่
สวยงาม และ...การแสดงของคริสโตเฟอร์ วอลเก้น
อ้อ ลืมชมไปอีกเรื่อง การให้ตัวละครหันมาคุยกับคนดูเพื่อ
เล่าเรื่องเป็นระยะๆนั้นเป็นวิธีการเชยๆที่น่ารักและได้ผลมาก
ในหนังเรื่องนี้...อย่างน้อยก็กับผมครับ...ปู่คลินต์