Guillemots-Red ***1/2
The Complex Dance!
The Complex Dance!
Fyfe Dangerfield ผู้นำวงมาดเซอร์จากเกาะอังกฤษ Guillemots ไม่ซ่อนเร้นเป้าหมายของการทำอัลบั้มที่สองของวง เขาต้องการงานที่ตีแสกหน้าผู้ฟังด้วยบีทอันหนักแน่นของริธิ่มแอนด์บลูส์ งานเต้นรำบนทำนองที่ติดหูพร้อมจะตรึงใจผู้ฟังแม้ได้ยินเพียงครั้งเดียวในวิทยุ ทางต้นสังกัดยังโฆษณาทับไปอีกว่ามันจะเป็นงานที่น่าตื่นเต้นที่ไม่ได้ฟังกันมานานนับตั้งแต่ Prince ทำงานแหวกแนวบ้าดีเดือดของเขาในยุค 80’s
ข่าวนี้สร้างความมึนให้ผมพอสมควร เพราะในอัลบั้ม Through The Windowpane ที่ออกมาในปี 2006 มันไม่ใช่ Guillemots อย่างที่กล่าวในย่อหน้าแรกเลย บรรยากาศในอัลบั้มแรกนั้นออกเย็นยะเยือก เต็มไปด้วยเครื่องสายเข้มข้นและเสียงฮาร์โมนีซับซ้อน จำได้ว่าปีนั้นผมยกให้ Sao Paolo แทร็คสุดท้ายยาว 11 นาทีกว่าๆเป็นหนึ่งในเพลงแห่งปี การเล่นกับออเคสตร้าในเพลงนี้ทำให้นึกถึงยุครุ่งเรืองของคลาสสิคัลร็อค นอกจากนั้นยังมีเพลงสวยๆอย่าง Little Bear ที่เนิบนวยนาดจนไม่น่าเชื่อว่าพวกเขาจะนำมาเปิดอัลบั้ม (เพลงโปรดของเซอร์พอล แมคคาร์ทนีย์) และ Train To Brazil ที่เล่นกับเครื่องเป่าอย่างครื้นเครง
ข่าวนี้สร้างความมึนให้ผมพอสมควร เพราะในอัลบั้ม Through The Windowpane ที่ออกมาในปี 2006 มันไม่ใช่ Guillemots อย่างที่กล่าวในย่อหน้าแรกเลย บรรยากาศในอัลบั้มแรกนั้นออกเย็นยะเยือก เต็มไปด้วยเครื่องสายเข้มข้นและเสียงฮาร์โมนีซับซ้อน จำได้ว่าปีนั้นผมยกให้ Sao Paolo แทร็คสุดท้ายยาว 11 นาทีกว่าๆเป็นหนึ่งในเพลงแห่งปี การเล่นกับออเคสตร้าในเพลงนี้ทำให้นึกถึงยุครุ่งเรืองของคลาสสิคัลร็อค นอกจากนั้นยังมีเพลงสวยๆอย่าง Little Bear ที่เนิบนวยนาดจนไม่น่าเชื่อว่าพวกเขาจะนำมาเปิดอัลบั้ม (เพลงโปรดของเซอร์พอล แมคคาร์ทนีย์) และ Train To Brazil ที่เล่นกับเครื่องเป่าอย่างครื้นเครง
Guillemots ตั้งวงกันมาตั้งแต่ปี 2004 โดยผู้ก่อตั้งวงก็คือนาย Fyfe นั่นเอง เป็นคนหนุ่มที่น่าจับตาทีเดียว เพราะหมอนี่ครบเครื่องทั้งแต่งเพลงได้ลึกเกินวัย เขียนสกอร์ออเคสตร้าด้วยตัวเอง และเสียงร้องก็ไม่ธรรมดา เขายังเล่นทั้งกีต้าร์และคีย์บอร์ดด้วย สมาชิกหลักคนอื่นๆก็มี MC Lord Magrão - เล่นกีต้าร์และเบส Aristazabal Hawkes – ดับเบิลเบสและเพอร์คัสชั่นและ Greig Stewart ตีกลอง (มีคนหลังที่ชื่อไม่น่าตื่นเต้นอยู่คนเดียว) และยังมีทีมเครื่องเป่าเสริมอีกสองคน Through The Windowpane ได้เข้าชิง Mercury Prize ในปี 2006 แต่ก็ได้แค่ที่สอง ไม่อาจต้านความแรงของ Whatever People Say I Am, That’s What I’m Not ของ Arctic Monkeys ได้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าแนวทางของ Guillemots ในอัลบั้มแรกนั้นจะหลากหลายจับทางยาก แต่คงไม่มีโหรท่านไหนกล้าทำนายว่าอัลบั้มสองของพวกเขาจะออกแนว Timbaland ขนาดนี้ นิตยสาร NME ผู้ทรงอิทธิพลของอังกฤษไม่รีรอที่จะถล่มงานชุดนี้เสียไม่เหลือความดีงาม แถม Uncut เครือเดียวกันก็แจกให้แค่สองดาวซึ่งถือว่าสอบตก ถ้ามองอย่างใจเป็นกลาง ผู้ที่จะผิดหวังกับงานนี้อย่างผิดสังเกตก็คือผู้ที่เคยชื่นชมกับอัลบั้มแรกของวงนั่นเอง
Red ที่ตั้งชื่อตามความร้อนแรงของ content ข้างใน มีด้วยกัน 11 แทร็ค และกว่าครึ่งในนั้นเดินเครื่องด้วยจังหวะที่หนักหน่วงแบบ dance music แต่มันไม่ใช่ dance ธรรมดา เพราะ Guillemots ไม่ได้คายพิษสงเสียหมด ดนตรีของพวกเขายังซับซ้อน มีทางเดินคอร์ดแปลกๆ สำเนียงแปร่งหู และการใช้เครื่องดนตรีที่ไม่มีใครคาดฝันในทุกๆเพลง เสียงร้องของ Fyfe ค่อนข้างจะคล่องตัวและเอาอยู่ในทุกแนว ไม่ว่าจะเป็น falsetto ใน Standing On The Last Star ร็อคตะโกนๆในซิงเกิ้ลแรก Get Over It หรือบัลลาดอ่อนช้อยอย่าง Falling Out Of Reach และ Word
ทั้งหมดนี้ทำให้ Red กลายเป็นงานที่จะเอาไว้เต้นก็คงพอได้ แต่มันก็ไม่ค่อยเหมือนธรรมชาติของเพลง Dance ที่ดนตรีจะไม่ซับซ้อนและแทรกสรรพคุณทางดนตรีไว้มากมายขนาดนี้ ผมก็คาดเดาไม่ถูกเหมือนกันว่าผู้ฟังจะยอมรับมันได้ขนาดไหนทั้งแฟนเก่าและใหม่ แต่ถ้าไม่ติดกับงานแรกเกินไป Red น่าจะจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับงานล่าสุดของ Muse และ Beck ได้ คือเป็นงานร็อคคุณภาพในจังหวะจะโคนที่ชวนขยับแข้งขาพองาม
กลิ่นอายของบีทแบบ World Music บนเสียงกลองที่กระหน่ำหนักหน่วงยังพอจับได้อยู่ สำเนียงอารบิกและภารตะมีมาให้ได้ยินเป็นระยะๆตั้งแต่แทร็คแรก Kriss Kross คีย์บอร์ดกระหึ่มและบีทที่ถาโถมไม่ปราณีปราศรัยเป็นการต้อนรับอย่างไม่ให้ตั้งตัวต่อด้วย Big Dog โซลย้วยๆที่ใครฟังก็คงอดคิดถึงจอร์จ ไมเคิลไม่ได้ (โปรดิวเซอร์ของ Red เคยทำงานกับไมเคิลมาก่อน) พักเหนื่อยกันด้วย Falling Out Of Reach ที่น่าจะเป็นเพลงที่ธรรมดาที่สุดและไพเราะที่สุดในอัลบั้มโดยมี Word ตามมาติดๆแต่เพลงหลังนี่อาจจะต้องทนรำคาญเสียงกีต้าร์ไฟฟ้าที่เล่นครืดคราดคลอเบาๆไปตลอดเพลงอยู่พอสมควร
Clarion เด่นด้วยคีย์บอร์ดเป็นเสียงซีต้าร์ที่เล่นซ้ำเป็นริฟฟ์แต่สำเนียงดันออกไปทางจีนๆ...ทำไปได้ Last Kiss เปลี่ยนบรรยากาศเป็นเสียงคอรัสสาวๆบ้างแต่จังหวะก็ยังเร่งร้อน Cockateels ค่อยทำให้แฟนเก่าใจชื้นขึ้นหน่อยด้วยดนตรีอลังการในแบบที่พวกเขาเคยทำไว้ เสียงประสานนักร้องหญิงแบบ Arcade Fire สลับกับเครื่องสายหวือหวาน่าฟังมากครับ ปิดท้ายเรียบๆด้วย Take Me Home ที่เป็นคนละเพลงกับของ Phil Collins แต่เป้าประสงค์ดูจะใกล้เคียงกัน
Guillemots เลือกทำงานที่สองในแบบที่ต่างจาก The Feeling พวกเขากล้าที่จะฉีกแนวออกไปจากเดิมค่อนข้างมาก แต่ก็ยังคงซาวนด์หลักๆให้ยังพอจำกันได้ Red เป็นงานที่อาจจะฟังดูฉูดฉาดในรอบแรกๆแต่มีรายละเอียดมากมายที่ต้องฟังกันหลายรอบจึงจะเก็บความดีงามขึ้นมาได้หมดครับ
No comments:
Post a Comment