Monday, 2 March 2009

Beatles ยึดอเมริกาในปี 1964 (พ.ศ. ๒๕๐๗)-3


ในวันจันทร์ที่2มีนาคม แค่9วันหลังจากพวกเขากลับจากอเมริกา เดอะ บีเทิลส์ เริ่มการถ่ายภาพยนตร์ A Hard Day's Night

ก่อนหน้านี้ ภาพยนตร์ที่นำแสดงโดยนักดนตรีป๊อบไม่ว่าจะเป็นอเมริกันหรืออังกฤษ แทบจะทุกเรื่องมีสถิติที่ย่ำแย่ทั้งนั้น

มันเป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต่อไหวพริบและความชาญฉลาดของพวกเขาในการที่จะทำหนังให้ได้กำไรงามโดยใช้ต้นทุนต่ำๆ

แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ของบีเทิลส์ก็ยังคงคุณภาพแบบของพวกเขาไว้อันปรากฏอยู่ในแทบทุกงานที่พวกเขาสัมผัส

แม้ว่าจะมีต้นทุนเพียงแค่ 180,000ปอนด์ จาก United Artists ซึ่งมองหนังเรื่องนี้เป็นแค่งานที่ทำออกมาโกยเงินแบบสุกเอาเผากินเท่านั้น และถ่ายทำกันในช่วงเวลาแค่แปดสัปดาห์
แต่ A Hard Day's Night ภาพยนตร์กึ่งสารคดีเรื่องนี้ก็กลับกลายเป็นหนังคลาสสิกในรูปแบบของมัน เป็นชิ้นงานศิลป์ที่จับห้วงเวลาของมันได้อย่างแท้จริง


ในขณะที่ไบรอัน เอ็บสไตน์เป็นผู้จัดการที่ปราดเปรื่องที่สุดเท่าที่วงจะหาได้ เขามีสไตล์ที่หล่อหลอมมาอย่างสมบูรณ์แบบ, วิสัยทัศน์,ความซื่อตรงไร้มายาและการอุทิศตนแบบถวายหัว

ขณะที่จอร์จ มาร์ตินก็เป็นโปรดิวเซอร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของวง สร้างสรรค์,พร้อมที่จะรับฟัง, เขาเป็นผู้ชำนาญการด้านดนตรีแต่ไม่มีประสีประสานักในด้านป๊อบหรือร็อค(ซึ่งกลับเป็นเรื่องดี) และช่ำชองในเรื่องการบันทึกเสียงเอ็ฟเฟ็คตลกๆ

และขณะที่ Dick James ก็เป็น music publisher ที่เหมาะเจาะสำหรับพวกเขา คุณลุงจอมอารักขาที่กระหายต่อความสำเร็จ

และขณะนี้ก็เป็นการก้าวเข้ามาของผู้กำกับโนเนม Richard Lester -ช่างสังเกต,ฉลาด,ชอบอะไรเหนือจริงและเขาก็เป็นคนที่ไม่มีใครคาดมาก่อนแต่ก็เป็นบุคคลที่ดีที่สุดสำหรับงานนี้

การกำกับของเลสเตอร์ใน A Hard Day's Night นั้นจัดว่าดีเลิศ ซึ่งจริงๆแล้วต้องให้เครดิตแก่ Alun Owen คนเขียนบทชาวลิเวอร์พูลที่ไบรอันและบีเทิลส์แนะนำเข้ามาด้วย อลันเคยทำงานทีวี,วิทยุและละครเวทีมาก่อน

แม้ว่าหลายปีต่อมา จอห์นจะวิพากษ์วิจารณ์การวางตัวบทละครที่ถอดแบบออกมาตรงๆ และความราบรื่นของหนัง แต่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังคงเป็นหนังที่น่าชม สนุกสนาน น่าสนใจ ฉลาดเฉลียว และตลกขบขัน ตั้งแต่ต้นจนจบ

ในช่วงเวลานี้ จังหวะในการทำงานของบีเทิลส์ ทั้งในด้านการถ่ายหนัง การแต่งเพลง การบันทึกเสียง การให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน การแสดงคอนเสิร์ท การปรากฏตัวทางทีวีและวิทยุ ทุกอย่างมันอัดแน่นไปหมด
แต่คุณภาพของงานกลับไม่เคยลดลงแต่อย่างใด

ในวันที่ 20 มีนาคม พวกเขาปล่อยซิงเกิ้ลใหม่ 'Can't Buy Me Love' ออกมา ก่อนหน้านี้สามวัน อีเอ็มไอประกาศว่า, มันเป็นอีกครั้งหนึ่ง , ที่ยอดสั่งจองทะลุเกินหนึ่งล้านก๊อบปี้เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น ในอเมริกามันขายไปได้ถึง 2,100,000 แผ่น

เดอะบีเทิลส์ได้ต่ออายุการมีเพลงติดอันดับหนึ่งต่อเนื่องกันอย่างยาวนานต่อไปทั้งสองฝั่งแอตแลนติก
ในอเมริกา 'Can't Buy Me Love' ช่วยเสริมความเป็นราชาอันดับเพลงของพวกเขาต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ศิลปินอังกฤษไม่เคยเจาะเข้ามาได้เลยด้วยซ้ำ

ในบิลบอร์ดชาร์ท "Hot 100 " singles ในวันที่ 4 เมษายน 1964 แสดงให้เห็นว่ามีเพลงของบีเทิลส์อยู่ในอันดับ 1,2,3,4,5,31,41,46,58,65,68 และ 79
สัปดาห์ต่อมา มีซิงเกิ้ลอีกสองแผ่นจากบีเทิลส์บินเข้าสู่ชาร์ท ขณะที่ในอันดับของอัลบั้ม พวกเขาก็ยึดอันดับหนึ่งและสอง

มากไปกว่านั้น วงอื่นๆจากอังกฤษก็เริ่มดาหน้ากันเข้ามาสู่อเมริกา ด้วยบีเทิลส์ทำให้ชาวอเมริกันมองอังกฤษด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป

ไม่ใช่เพียงแต่ในอเมริกาและอังกฤษเท่านั้น ที่บีเทิลส์ยึดอันดับเพลง ในออสเตรเลีย วันที่ 3 เมษายน 1964 เพลงของบีเทิลส์ก็ยึดอันดับใน Top six ของซิงเกิ้ลชาร์ทแห่งซิดนี่ย์ไว้โดยหมดจด
และที่ออสเตรเลียนี่เองที่บีเทิลส์มุ่งหน้าไป หลังจากเสร็จสิ้นการถ่ายทำภาพยนตร์ A Hard Day's Night และอัลบั้มชื่อเดียวกัน


เมื่อมองย้อนกลับไป การทัวร์ออสเตรเลียครั้งนั้นไม่ได้เป็นเวลาที่แฮปปี้เท่าใดนักของวง ก่อนที่จะเดินทางไปเล่นคอนเสิร์ทที่ เดนมาร์ค ฮอลแลนด์ และฮ่องกง ริงโก้ก็ล้มเจ็บลงด้วยอาการทอนซิลและลำคออักเสบเพียงวันเดียวก่อนวันที่ 3 มิถุนายนที่เป็นกำหนดการเดินทาง

มันสายเกินไปเสียแล้วที่จะเลื่อนทัวร์ออกไป ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่ทางเดียว: จ้างตัวแทนชั่วคราว
จอร์จเป็นคนที่คัดค้านไอเดียนี้และเขาถึงกับเอ่ยว่าถ้าริงโก้ไม่ไปเขาก็จะไม่ไปเช่นกัน ("คุณหาตัวแทนไว้ได้สองคนเลย")


No comments: