ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ไม่จำเป็นต้องไปจ้างสถาบันไหนทำโพลให้
ใครๆก็ทราบกันดีว่า เอลวิส เพรสลีย์ มีความยิ่งใหญ่ในวงการดนตรีแค่ไหน
เขาคือซุปเปอร์สตาร์คนแรกของร็อคแอนด์โรล เอลวิสอาจจะไม่ใช่ศิลปินคนแรกที่เล่นดนตรีแนวนี้
แต่เขาเป็นคนสำคัญที่สุดที่ทำให้ดนตรีร็อคเป็นที่นิยมในวงกว้างแผ่ขยายไปทั่วโลก
"ก่อนหน้าเอลวิส ไม่มีอะไรเลย" คำกล่าวชมนี้ของจอห์น
เลนนอนอาจจะเกินเลยความจริงไป แต่ระหว่างถ้อยคำของประโยคนี้มันก็ซ่อนความชื่นชมและบูชาในตัวของราชาแห่งร็อคแอนด์โรลคนนี้ไว้อย่างหมดจด
นักฟังเพลงยุคหลังๆอาจจะมองเอลวิสในฐานะไอคอน
หรือสนใจในเรื่องอื้อฉาวของเขามากกว่าดนตรี ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง
(จะโทษนักฟังเหล่านั้นก็ไม่ได้
เพราะเรื่องราวอื้อฉาวและผลงานแย่ๆของเขาก็มีไม่น้อยจริงๆ) นี่จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะสะกิดนักฟังทุกท่านให้หันมาสนใจในดนตรีของเขาอย่างจริงจัง
(เข้าใจว่าคนอ่านคอลัมน์นี้คงมีเป็นล้าน) เอลวิสมีผลงานบันทึกเสียงมากมายในช่วงปี
1954-1977 และออกมาในฟอร์แมตต่างๆกัน จึงเป็นการยากที่จะตามเก็บผลงานของเดอะคิงได้ครบถ้วน
ณ จุดนี้ บ๊อกเซ็ตเป็นการตอบโจทย์ได้ดีที่สุด
และเพื่อให้สมศักดิ์ศรีของความเป็นราชันย์ คอลัมน์ Music Box จึงภูมิใจมอบเนื้อที่ใน
GM2000 ให้เขาสามฉบับเต็มๆ เพื่อบอกกล่าวเรื่องราวความเป็นมาและกระเทาะเปลือกให้ถึงแก่นแท้แห่งดนตรีของเขาอย่างเข้มข้น
จัดกันเต็มๆฉบับละทศวรรษ
เอลวิสเป็นศิลปินที่มีการรวบรวมผลงานเป็นบ๊อกเซ็ตออกมาให้แฟนๆอุดหนุนกันมากที่สุดคนหนึ่ง
ตั้งแต่กล่องขนาดยักษ์30-50
แผ่นที่รวมผลงานเอาไว้เกือบครบที่ต้องซื้อหากันด้วยราคาพอๆกับมอเตอร์ไซด์ขนาดย่อมๆ,กล่องรวมเพลงเป็นแนวๆ,กล่องรวมเพลงหายาก,กล่องรวมงานแสดงสด
แต่จุดลงตัวที่สุดที่แฟนๆและนักวิจารณ์เห็นพ้องต้องกันว่ารวบรวมเพลงเอกของเขาได้ครบครัน
(ในสนนราคาที่ไม่ต้องถึงกับไปกู้เงินใครมาทำโครงการซื้อ) และแสดงความเป็นศิลปินของเอลวิสออกมาได้อย่างเจิดจรัสก็คืองาน
"ตรีเทพ" สามกล่องสามทศวรรษ รวม 15 ดิสก์ ในชื่อThe King of Rock
'N' Roll : The Complete 50's Masters , From Nashville to Memphis :The
Essential 60's Masters I และ Walk a Mile In My Shoes : The Essential 70's Masters ที่ทยอยออกมาในยุค90's
และนับเป็นครั้งแรกในยุคของคอมแพ็คดิสก์ที่มีการรวบรวมเพลงของเอลวิสอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สุด
เราจะเล่าเรื่องราวของเขาในแต่ละทศวรรษควบคู่กันไปกับบทเพลงในแต่ละบ๊อกซ์
และฉบับนี้แน่นอนว่าต้องเป็นจุดกำเนิดและการไต่เต้าขึ้นสู่บัลลังก์ราชาของเอลวิส
ในยุคที่ไม่มีพิมพ์เขียวหรือศิลปินใดเป็นต้นแบบให้
ไม่มีรายการอเมริกันไอดอลหรือคอนเทสต์ใดๆเป็นทางลัดให้ก้าวขึ้นสู่ความมีชื่อเสียงในชั่วข้ามคืน
ตรงกันข้าม เรื่องราวของเอลวิสเต็มไปด้วยความพลิกผัน โชคชะตา ความมุมานะและอดทนอย่างถึงที่สุด
มิใช่มาจากความเป็นอัจฉริยะเพียงอย่างเดียวของเขาแต่อย่างใด
Story
เอลวิสเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1935 (วันเดือนเดียวกันแต่คนละปีร่วมกันกับ
เดวิด โบวี่ และสตีเฟน ฮอว์กิ้งนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่) ที่ Tupelo,
Mississippi ในครอบครัวที่ค่อนข้างจะยากจน คุณพ่อของเขาชื่อ เวอร์นอน อายุเพียง 18
ปีในขณะนั้น และคุณแม่ชื่อ แกลดดี้ส์ เลิฟ อายุ 22 ปี เอลวิสมีพี่ฝาแฝดชื่อ เจสซี่
การอน ที่เกิดก่อนเขา 35 นาทีแต่เสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด ในวัยเยาว์
เอลวิสได้สัมผัสความงดงามของดนตรีเป็นครั้งแรกจากเสียงเพลงในโบสถ์ ด้วยเหตุนี้เพลงกอสเพลจึงเป็นดนตรีประจำหัวใจของเขาไปตลอดชีวิต
การร้องเพลงต่อหน้าผู้คนครั้งแรกของเขาเกิดขึ้นตอนอายุ 10 ขวบ เด็กชายเอลวิสแต่งชุดคาวบอยยืนบนเก้าอี้ร้องเพลงคันทรี่
'Old Shep' ของ Red Foley ในงานแฟร์ของมิสซิสซิปปี้และอลาบาม่าในวันที่
3 ตุลาคม 1945 และคว้ารางวัลลำดับที่ห้ามาครอง
(ไม่มีข้อมูลว่ามีผู้เข้าประกวดกี่คน)
หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้รับของขวัญวันเกิดชิ้นสำคัญจากคุณแม่....กีต้าร์
เอลวิสเล่าว่าจริงๆเขาอยากได้จักรยานมากกว่า แต่ราคามันเกินงบไปหน่อย
(โลกคงไม่เหมือนเดิมถ้าเอลวิสขี่จักรยานไปทั่วเมืองแทน) เขาเริ่มหัดกีต้าร์จากการเฝ้ามองนักกีต้าร์คนอื่นและการสอนของลุงๆ
เอลวิสมักจะแบกกีต้าร์ไปโรงเรียนเสมอและจะคว้ามันออกมาเล่นและร้องในช่วงพักกลางวัน
ครอบครัวเพรสลีย์ย้ายไปเมมฟิส, เทนเนสซี่ในเดือนพ.ย. 1948
ด้วยความหวังว่าจะพบชีวิตที่ดีกว่าเดิม
แต่ดูเหมือนเหตุการณ์จะไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาแอบฝัน
ชีวิตของครอบครัวเพรสลีย์ก็ยังแร้นแค้นไม่ต่างจากที่ Tupelo
เอลวิสเข้าเรียนที่ Humes High School และได้แค่เกรด C ในวิชาดนตรี แถมยังได้คำวิจารณ์เสียๆหายๆจากครูดนตรีในการร้องเพลงของหนุ่มน้อย
แต่นั่นไม่ได้ทำให้เอลวิสหวั่นไหว เขายังร้องเพลงและเล่นกีต้าร์กับเพื่อนๆต่อไป
ในปี 1950 เอลวิสเริ่มทำงานควบคู่ไประหว่างเรียนหนังสือ เริ่มจากงานในโรงภาพยนตร์,และโรงงานอุปกรณ์โลหะ
ปี 1953 เอลวิสลบคำสบประมาทของครูดนตรีคนนั้นด้วยการเข้าร่วมในงานประจำปีของ Humes
เขาร้องเพลงและเล่นกีต้าร์ในเพลง
'Till I Waltz Again with You' ท่ามกลางเสียงกรีดร้องและปรบมือกึกก้อง สร้างความประหลาดใจให้กับตัวนักร้องเองไม่น้อย
และมันน่าจะสร้างความมั่นใจให้เอลวิสในเส้นทางดนตรีในอนาคตที่เขาจะเลือกในเวลาต่อมา
นักดนตรีทุกๆคนรวมทั้งโปรดิวเซอร์และผู้ร่วมงานกับเอลวิสในยุคที่เขามีชื่อเสียงแล้วมีความเห็นตรงกันว่าเขาเป็นนักฟังดนตรีที่หลากหลายและมีความทรงจำเป็นเลิศ
ไม่ว่าจะเป็นเพลงเก่าหรือเพลงหายากแค่ไหนดูเหมือนเอลวิสจะรู้จักและร้องได้ไปเสียหมด
คำถามคือเขาไปฟังเพลงเหล่านี้มาจากไหน คำตอบอยู่ที่ตู้เพลงและ listening
booths ตามร้านแผ่นเสียง เอลวิสจะใช้เวลามากมายซึมซับบทเพลงของศิลปินคันทรี่และกอสเพลที่เขาชื่นชอบ
ไม่รวมถึงรายการวิทยุที่เปิดเพลงในแนวริธึ่มแอนด์บลูส์และแนวอื่นๆของคนดำที่เรียกกันว่า
'race records' และการแสดงดนตรีบลูส์ที่ Beale Street (เขาเคยพบกับบี.บี.
คิงในวัยหนุ่มที่นี่) และการร่วมร้องเพลงกอสเพลงยันเช้าที่มีประจำเดือนละครั้งในตัวเมือง
เอลวิสจบการศึกษา high school ในเดือนมิ.ย. 1953 ด้วยความมุ่งมั่นจะยึดอาชีพนักดนตรี
แต่....ด้วยวิธีไหนล่ะ?
เอลวิส เพรสลีย์ไม่มีแนวคิดจะรอให้โชคชะตาเดินเข้ามาหา
วันหนึ่งในเดือนสิงหาคม 1953 เขาเดินเข้าไปที่สำนักงานของ Sun Records ที่มีบริการอัดแผ่นครั่งในราคา
4 เหรียญ เขาเล่นกีต้าร์และร้องเพลง My Happiness และ That's
When Your Heartaches Begin เอลวิสเล่าให้ฟังภายหลังว่าตั้งใจจะนำแผ่นนี้ไปให้เป็นของขวัญวันเกิดให้คุณแม่และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือเขาอยากฟังเสียงตัวเองเวลาบันทึกเสียง
แต่มีผู้วิเคราะห์ว่าเอลวิสอาจจะไปบันทึกเสียงเพื่อเผื่อจะมีใคร "ค้นพบ"
เขามากกว่า เพราะในเวลานั้นวันเกิดคุณแม่ก็ผ่านมานานแล้ว
และก็มีร้านรับอัดเสียงแบบนี้ในราคาถูกกว่านี้แถวนั้นแต่เอลวิสก็ไม่ไป
ตำนานเล่าว่า Marion Keisker พนักงานต้อนรับของ Sun ในวันนั้น
ถามเอลวิสว่า เธอร้องเพลงแนวไหน เอลวิสตอบ "ผมร้องทุกแนว" Marion ถามอีกว่า แล้วเสียงเธอเหมือนใครล่ะ เอลวิสตอบ
"ผมเสียงไม่เหมือนใครเลย"
มันอาจจะเป็นคำตอบที่ดูเกรียนๆไม่เบา แต่น่าทึ่งที่ในกาลต่อมา
หนุ่มน้อยคนนี้ได้พิสูจน์ว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ
ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอื่นในโลก (แต่มีคนลอกเลียนอีกมากมาย)
และแนวเพลงที่เอลวิสกวาดเรียบได้ตั้งแต่คันทรี่ บลูส์ ร็อค โซล กอสเพล บัลลาด
หรือแม้แต่เพลงไร้สาระขำๆที่ไม่น่าภาคภูมิใจจัก
อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรเกิดขึ้นหลังจากการบันทึกเสียงในครั้งนั้น เว้นแต่โน๊ตสั้นๆที่ Marion หมายเหตุเอาไว้ว่า
"นักร้องเพลงบัลลาดที่น่าสนใจ"
(Marion บันทึกเสียงการแสดงของเอลวิสในครั้งนั้นลงเทปเอาไว้ด้วย) เอลวิสกลับเข้าไปใช้บริการอีกรอบในเดือนมกราคม
1954 ครั้งนี้เขาเลือกเพลง 'I'll Never Stand In Your Way' และ 'I
Wouldn't Be The Same Without You' แต่ผลก็คือเงียบสนิทเหมือนเดิม จนกระทั่ง Sam
Phillips บอสใหญ่ของ Sun ไปได้เดโมเพลง 'Without You' มา
แซมกำลังหาศิลปินผิวขาวที่ร้องเพลงได้อารมณ์แบบคนผิวสีอยู่
และคิดว่าเพลงนี้อาจจะเหมาะกับเอลวิส
ในที่สุดMarion ก็ได้ใช้เบอร์โทรศัพท์คนข้างบ้านเอลวิสที่เขาทิ้งไว้ให้โทรตามเขาเสียที
(ภายหลังเอลวิสโจ๊กว่า พอได้ทราบข่าวเขาพรวดไปถึงสตูดิโอก่อนที่เธอจะวางหูเสียอีก)
แต่แซมก็พบว่าพ่อหนุ่มจอนงามคนนี้ก็ไม่อาจร้องเพลง 'Without You' ได้โดนใจ ถึงกระนั้นแซมไม่ได้ตะเพิดเอลวิสกลับบ้านทันที
เขาลองให้เอลวิสร้องและเล่นเพลงต่างๆที่เด็กหนุ่มรู้จักให้ฟัง
แซมเห็นแววบางอย่างในตัวเอลวิส เขาเกิดไอเดียชักชวน นักกีต้าร์ สก็อตตี้ มัวร์
และมือเบสอัพไรท์ บิล แบล็ค สองนักดนตรีที่เขารู้จัก ลองมาตั้งวงเล่นๆกับเอลวิสดูสักหน่อยว่าจะมีอะไรที่เข้าท่าเข้าทีออกมาได้ไหม
วันประวัติศาสตร์นี้คือวันที่ 5 กรกฎาคม 1954 เอลวิส, สก็อตตี้และบิล
มาเล่นดนตรีร่วมกันที่ Sun ให้แซมฟัง
แต่หลายเพลงผ่านไปก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรน่าสนใจ จนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาจนมืดค่ำและทำท่าจะเลิกรากลับบ้านกันแล้ว
ขณะที่พวกเขากำลังจิบโค้กแก้กระหายกันอยู่ เอลวิสก็คว้ากีต้าร์ขึ้นมาแหกปากร้อง 'That's
All Right' เพลงเก่าในปี 1946 ของ Arthur Crudup ขึ้นมาดื้อๆในสไตล์แบบร้องเอามัน
ฮาๆ ด้วยความเฮพอกัน บิล แบล็คก้าวไปที่เบสตัวเชื่องของเขาก่อนจะดีดมันผสมโรง
และสก็อตตี้ก็ไม่มีทางเลือกนอกจากร่วมบรรเลงไปด้วย
นาทีนั้นเองที่แซมเปิดประตูเข้ามาถาม "พวกนายเล่นอะไรกัน?" หนุ่มๆตอบ
"ไม่รู้เหมือนกัน" แซมบอกพวกเขาทันทีว่า เอาล่ะ ไม่ว่านั่นคืออะไร
เริ่มต้นใหม่อีกทีซิ แล้วปุ่มบันทึกเสียงก็ถูกกดลง
นี่คือซาวนด์ที่แซมรอคอยและค้นหามานาน
'That's All Right' กลายเป็นเพลงดังในเมมฟิสในอีกสามวันถัดมา เมื่อดีเจ
Dewey Phillips (ไม่ได้เป็นอะไรกับแซม) นำไปเปิดในรายการวิทยุของเขา มันร้อนแรงสุดๆจนดิวอี้ต้องเชิญเอลวิสมาสัมภาษณ์สดๆในรายการตามคำเรียกร้องของผู้ฟัง
แซมเรียกทริโอกลับมาบันทึกเสียงเพลงบลูกราสของ Bill Monroe-'Blue Moon of
Kentucky' ในอีกไม่กี่วันต่อมา
เพื่อที่จะให้มันเป็นเพลงหน้าบีของซิงเกิ้ลแรกของเอลวิส เพรสลีย์ในสังกัด Sun
Records และพวกเขาก็ทำเพลงบลูกราสเฉิ่มๆของบิลออกมาได้เมามันกระเจิดกระเจิงจนสก็อตตี้ต้องกล่าวว่า
"งานนี้เราต้องถูกไล่เตะออกนอกเมืองแหง"
มีแผ่นเสียงแล้วก็ต้องมีการออกแสดงตามมา
เป็นสูตรสำเร็จที่ไม่ต้องคิดอะไรกันมาก สามหนุ่มเริ่มออกทัวร์
และตำนานของท่อนขาที่สั่นไหวพลิ้วของเอลวิสก็เริ่มขึ้น มันกำเนิดมาจากความตื่นเต้นในหัวใจของเขาผนวกกับการตอบสนองอย่างรุนแรงของจังหวะจะโคนของดนตรี
และแน่นอน...แฟนสาวๆก็เริ่มต้นที่จะกรีดร้องไปกับท่วงท่าของเอลวิส
ทุกอย่างไม่ได้ราบรื่นไปเสียหมด การแสดงที่ Grand Ole Opry ที่แนชวิลล์ในวันที่
2 ตุลาคม (เป็นเวทีใหญ่ที่สุดของศิลปินคันทรี่) ได้รับการตอบสนองที่แสนสุภาพ
(เงียบหงอย) และคำแนะนำจากพิธีกรให้เอลวิสกลับไปขับรถบรรทุกอย่างเดิม แต่ที่ Louisiana
Hayride อันเป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับสอง
พวกเขากลับแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวและได้รับการติดต่อทำสัญญาเล่นกันข้ามปี ต้นปี 1955
เอลวิสเล่นประจำที่ Hayride สลับกับการออกทัวร์และการบันทึกเสียง เขาได้พบกับ
Colonel Tom Parker หรือที่เรียกกันว่า "ท่านผู้พัน"
และจะเป็นผู้ทรงอิทธิพลในชีวิตของเอลวิสอย่างมหาศาลในช่วงเวลาที่เหลือของเขา
พาร์คเกอร์เริ่มต้นด้วยการเป็นโปรโมเตอร์ในการแสดงให้เอลวิสในช่วงแรกและค่อยๆคืบคลานเข้ามาในชีวิตของเขาทีละน้อย
ช่วงปลายปีเอลวิสเป็นดาราเนื้อหอมที่สุดในวงการ
หลายสังกัดหมายปองจะได้เขาไปไว้ครอบครองแต่สุดท้ายก็เป็น RCA Victor ที่ซื้อสัญญาจาก
Sun ไปในราคาร่วมสี่หมื่นเหรียญที่ถือว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น
และท่านผู้พันก็กลายเป็นผู้จัดการตัวจริงเสียงจริงของเอลวิสไปตั้งแต่นั้นมา เอลวิสปิดตำนานการบันทึกเสียงที Sun Records เอาไว้เพียงเท่านี้
เขาบันทึกเสียงไว้ในสังกัดประมาณ 20 เพลง (ไม่รวมแผ่นครั่ง4เพลงแรก และเซสชั่น Million
Dollar Quartet) มันคือจุดเริ่มต้นของการผสมผสานของดนตรีคันทรี่และริธึ่มแอนด์บลูส์จนมีชื่อเรียกว่า
Rockabilly ในเวลาต่อมา สุ้มเสียงการบันทึกเสียงของเอลวิสที่ Sun โดยฝีมือของ
แซม ฟิลิปส์ยังเป็นที่กล่าวขานในทุกวันนี้และยากนักที่จะเลียนแบบได้
เอลวิสหอบหิ้วเพื่อนรักสก็อตตี้และบิลมาที่อาร์ซีเอด้วย พวกเขาเริ่มบันทึกเสียงที่แนชวิลล์กันในวันที่
10 มกราคม 1956 โดยมี Floyd Cramer เล่นเปียโน, Chet Atkins ร่วมเล่นกีต้าร์และนักร้องประสานเสียงอีกสามคน
ผู้บริหารของอาร์ซีเอรู้สึกกดดันกันไม่น้อย
ด้วยความหวาดหวั่นว่าเอลวิสจะทำได้ไม่ดีสมราคาค่าตัว แต่พวกเขาก็ไม่ผิดหวัง Heartbreak Hotel
เพลงประหลาดๆที่ไม่น่าจะดังได้
กลายเป็นเพลงอันดับ 1 เพลงแรกของเอลวิส (แต่ก็ใช้เวลาไต่อันดับถึงสิบสองสัปดาห์) ผู้พันพาร์คเกอร์เริ่มแสดงศักยภาพในการเป็นป๋าดันระดับเทพ
เขาส่งเอลวิสออกรายการทีวีโชว์ดังๆแทบจะทุกรายการในอเมริกา เริ่มจาก Stage
show ที่เอลวิสออกถึงหกครั้งในช่วงเวลาสองเดือน ต่อด้วย Milton
Berle Show ในเดือนเมษายนและ Steve Allen Show ในเดือนกรกฎาคม
จน Ed Sullivan ที่เคยตำหนิเอลวิสเสียๆหายๆก่อนหน้านี้ต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเอง
"จัดให้" เอลวิสไปสามโชว์เริ่มจากเดือนกันยายน และที่ฮาก็คือในโชว์สุดท้ายที่กล้องจะถ่ายเฉพาะท่อนบนของเอลวิสเท่านั้น
เพราะซุลลิแวนรับไม่ได้กับการโยกย้ายส่ายสะโพกของเอลวิสที่ไม่เหมาะสำหรับรายการแบบครอบครัวของแก...
กลับมาที่ผลงานการบันทึกเสียง อัลบั้มแรกในชีวิต "Elvis
Presley" ที่มีภาพปกสุดจะไอค่อนพร้อมตัวหนังสือชื่อศิลปินสีชมพู-เขียวออกมาในเดือนมีนาคม
ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอัลบั้มร็อคแอนด์โรลที่ดีที่สุดตลอดกาล
อัลบั้มที่สอง "Elvis" ตามมาในเดือนตุลาคมด้วยความยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
ขณะที่การบันทึกเสียง,การออกทัวร์และการออกรายการทีวีเป็นไปอย่างอลหม่าน
เอลวิสและทีมงานก็ก้าวเท้าเข้ามาสู่อีกวงการหนึ่ง ในเดือนเมษายน 1956
เขาเซ็นสัญญาแสดงภาพยนตร์กับ Hal Wallis และ Paramount Pictures ภาพยนตร์เรื่องแรกของเอลวิสคือ
Love Me Tender ที่มีเพลงของเขาอยู่ 4 เพลง เสียงวิจารณ์ไม่ดีนัก แต่ความสำเร็จเชิงพาณิชย์นั้นหายห่วง
เอลวิสมีภาพยนตร์อีกสามเรื่องในยุค 50's คือ Loving You, Jailhouse Rock และ King
Creole หลายคนให้ความเห็นว่าเป็นหนัง 4 เรื่องที่ดีที่สุดของเขา
เอลวิสจบปี 1956 ด้วยการเป็นศิลปินที่มีเพลงใน Top 100
Billboard มากที่สุด...ตั้งแต่เคยมีบิลบอร์ดมา
ยอดขายแผ่นเสียงของเขาคนเดียวในปีนี้มากกว่าร้อยละ 50 ของซิงเกิ้ลทั้งหมดของ RCA
รวมกัน
เริ่มต้นปี 1957 ด้วยการแสดงครั้งสุดท้ายสำหรับ Ed Sullivan
Show เขาสร้างความประหลาดใจแก่ผู้ชมด้วยการร้องเพลงกอสเพล Peace In
The Valley ปิดรายการ ช่างขัดแย้งกันสิ้นดีกับภาพพจน์เซ็กซ์ซิมโบลร็อคเกอร์ผู้มีลาอันแสนอื้อฉาว
(เขาออกอีพีรวมเพลงกอสเพล 4 เพลงในชื่อ Peace In The Valley ตามมาในเดือนเมษายน)
เพลงฮิตอันดับ 1 ยังออกมาอย่างต่อเนื่อง "Too Much", "All
Shook Up", "Teddy Bear" ถ้าเป็นสำนวนยุคนี้คงต้องบอกว่าส่งเสาอากาศมาก็ยังขึ้นอันดับ
1 นักแต่งเพลงคู่หู Leiber และ Stoller ผู้แต่งเพลง 'Hound
Dog' และ 'Love Me' เริ่มมีบทบาทมากขึ้นพวกเขาแต่งเพลงให้ถึง 4
เพลงสำหรับภาพยนตร์ Jailhouse Rock และยังขึ้นแท่นเป็นโปรดิวเซอร์ในเซสชั่นบันทึกเสียงอีกด้วย
(ต่อมาสองนักแต่งเพลงเริ่มทำตัวล้ำเส้นด้วยการส่งเพลงให้เอลวิสโดยไม่ผ่านท่านผู้พัน
ผลก็คือเจอใบเหลืองคาดโทษจากพาร์คเกอร์ว่าถ้าทำอะไรเกินหน้าเกินตาเยี่ยงนี้อีกทั้งสองจะหลุดวงโคจรจากระบบเอลวิสไปทันที)
ปลายปีเอลวิสออกอัลบั้มคริสต์มาส Elvis' Christmas Album และมันก็กลายเป็นอัลบั้มคริสต์มาสที่ขายดีที่สุดตลอดกาล
20 ธันวาคม 1957 เอลวิสได้รับหมายเรียกเกณฑ์ทหาร
กำหนดการคือเดือนมีนาคม 1958
ทีมงานจึงต้องจ้าละหวั่นเตรียมเพลงเข้าคลังเอาไว้เตรียมทยอยขายในช่วงที่เอลวิสไม่อยู่
1 ก.พ. 1958 บิล แบล็คเล่นเบสให้เอลวิสเป็นครั้งสุดท้าย เขาเสียชีวิตในปี 1965 ส่วนสก็อตตี้ยังได้กลับมาทำงานกับเอลวิสอยู่บ้างในยุค 60's (ปัจจุบันสก็อตตี้เป็นเอลวิสทริโอคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่
ในวัย 81 ปี)
เอลวิสตัดผมเดินทางเข้าสู่กองทัพในวันที่ 24 มีนาคม 1958
แต่ในช่วงเดือนมิ.ย. เขาก็มีช่วงว่างสั้นๆแว่บมาบันทึกเสียงในแนชวิลล์ได้อีกห้าเพลง
สิงหาคมเอลวิสพบข่าวร้ายที่สุดในชีวิต
คุณแม่ของเขาเสียชีวิตด้วยโรคตับอักเสบในวันที่ 13 สิงหาคม
สองวันหลังจากที่เขาลาฉุกเฉินมาดูอาการคุณแม่ เป็นที่รู้กันว่าเอลวิสสนิทกับแม่มาก
เดือนตุลาคม หลังจากผ่านการฝึกแล้วเอลวิสก็เข้าประจำการที่เยอรมันและที่นั่นเขาได้พบกับสาวน้อยวัย
14 ปี Priscilla Beaulieu ผู้ที่จะมาเป็นภรรยาของเขาในอีกเจ็ดปีข้างหน้า ระหว่างเอลวิสอยู่ในค่ายทหาร
เขามีเพลงติดอันดับท็อป 40 ถึง 10 เพลง
และอาร์ซีเอก็จับเพลงเก่าๆมารวมเป็นอัลบั้มได้อีก 4 อัลบั้ม ที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ
Elvis Golden Records (1958) ที่ไปได้ถึงอันดับสามในชาร์ต
เอลวิส
เพรสลีย์ปลดประจำการและออกเดินทางกลับสหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม 1960
แม้ว่าโลกจะไม่ขาดเสียงเพลงของเขาเลยในสามปีที่ผ่านมา
แต่คำถามคือเขาจะกลับมาเป็นเอลวิสคนเดิมได้หรือไม่?
"เอลวิสตายในกองทัพ" -จอห์น เลนนอน
Song Selections ****
The King of Rock 'N' Roll The Complete 50's Masters ออกมาครั้งแรกในปี
1992 เป็นกล่องเดียวใน"ตรีเทพ"บ๊อกซ์สามทศวรรษนี้ที่มีคำว่า 'Complete'
ปะหน้ามาด้วย
โจทย์ในการเลือกเพลงจึงไม่ยุ่งยากนัก แค่เลือกเพลงที่เป็นมาสเตอร์
(ไม่รวมเทคที่ไม่ใช้)ทุกเพลงที่เอลวิสบันทึกเสียงและออกจำหน่ายในยุค50's มาให้ครบก็เป็นพอ
ซึ่งก็ถือว่าทีมงานทำได้ไม่มีอะไรตกหล่น ถ้าไม่นับงาน The Million Dollar
Quartet ที่เอลวิสบันทึกเสียงเล่นๆกับ Carl Perkins, Jerry Lee Lewis และ Johnny
Cash ที่ Sun Studio ในวันที่ 4 ธันวาคม 1956 เข้าไปด้วย
และธรรมเนียมของบ๊อกซ์ชั้นดีก็ต้องมีของแถมระดับพรีเมี่ยม ในที่นี้ก็คือ
1.เพลงในแผ่นครั่งแผ่นแรกของเอลวิสทั้งสองหน้าคือ My Happiness
และ
That's When your Heartaches Begin ที่ถูกจับแยกกันอยู่คนและแผ่นคือแผ่นแรกและแผ่นสุดท้าย
2.ไฮไลท์จาก Press
conference ของเอลวิสในวันที่ 22 กันยายน 1958 ที่ถูกจับมาแปะไว้ท้ายแผ่นที่ 4
3.แผ่นที่ห้าในชื่อ Rare and Rockin' ที่เต็มไปด้วย
demo , outtakes และ live versions หลายเพลงไม่เคยออกที่ไหนมาก่อน
สำหรับคนที่ไม่ชอบของแถมก็อาจจะบ่นว่าจริงๆ project นี้ก็น่าจะจบที่สี่แผ่นได้นี่นา
หรือคิดว่าแผ่นที่ห้าน่าจะเป็น Million Dollar Quartet มากกว่า
ที่ขาดหายไปอย่างน่าเสียดายนิดๆอีกสองเพลงก็คือแผ่นครั่งแผ่นที่สองที่เอลวิสอัดไว้ตอนต้นปี
1954 (หาฟังได้ในซีดีแผ่นคู่ชุด Sunrise)
แผ่นแรกเริ่มที่เพลง My Happiness และต่อด้วย 18
เพลงจากการบันทึกเสียงที่ Sun เริ่มจาก That's All Right และไปจบที่ When
It Rains, It Really Pours และต่อกันด้วยผลงานในยุค RCA ทันทีด้วยงานของเรย์ ชาร์ลส์ I Got a
Woman เรียงตามลำดับการบันทึกเสียงไปจนจบที่ I Got Stung ในแผ่นที่สี่ ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเพลงจากซาวนด์แทร็คหนัง 4
เรื่องของเขาและอัลบั้มเพลงคริสต์มาสเอาไว้ด้วย
Sleeve & Script ****
กล่องขนาดยาว (edition หลังๆเป็นกล่องสั้น)
ภาพปกเอลวิสในเงามืดเห็นแต่ศีรษะ,มือ, ไมโครโฟน และเนคไท
แต่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ร็อคแอนด์โรลเต็มขั้น บรรจุซีดีใส่ jewel case ธรรมดา(แต่เป็นสีขาว)
ห้าแผ่น ด้านในมีแสตมป์เอลวิส (ใช้ไม่ได้จริง) เป็นโปสเตอร์ 1 แผ่น และ booklet
หนาร่วม
100 หน้า เป็น biography ฝีมือการเขียนของ Peter Guralnick เจ้าของหนังสือ
Elvis Biography ที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดสองเล่มคือ Last Train To
Memphis และ Careless Love ปีเตอร์เขียนชีวประวัติฉบับย่อในยุค50's ของเอลวิสเพื่อกล่องนี้โดยเฉพาะ
โดยเจาะไปที่เรื่องราวทางดนตรีเป็นหลัก เต็มไปด้วยรายละเอียดและข้อมูลอันลึกซึ้งและลีลาการเขียนที่สมควรแล้วกับชื่อเสียงของเขา
อ่านแล้วก็รู้สึกเสียดายที่เขาไม่ได้เขียน bio ในอีกสองกล่องที่เหลือ
ไฮไลท์ของบทความนี้คือการที่ปีเตอร์บอกเล่าและถ่ายทอดความเป็นศิลปินของเอลวิสในห้องบันทึกเสียงไว้ได้อย่างเห็นภาพ
อาทิ "เอลวิสมีวิธีการทำงานของเขาเองในการตรวจสอบตัวเอง
เขาจะอ้อยอิ่งอยู่กับบางเทค ฟังเทปซ้ำแล้วซ้ำเล่าบางทีถึง 50 รอบ
จนทุกคนหมดแรงที่จะฟังไปกับเขาด้วย
หรือไม่ก็ร้องเพลงเป็นชั่วโมงๆเพื่อที่จะให้ได้เสียงที่ไม่มีใครอื่นได้ยินนอกจากเขา
และบางทีก็เลิกเอาดื้อๆ เดินออกไปดูหนัง แล้วก็กลับมาทำแบบนี้ใหม่อีกรอบ" booket
ปิดท้ายด้วย
Sessionography และ Discography โดยละเอียดของเอลวิสในการบันทึกเสียงในยุค 50's
ทั้งหมด
ภาพประกอบใน booklet ถือว่าสวยงามและเต็มไปด้วยภาพหายาก แม้ว่าหลายภาพอาจจะเล็กไปสักหน่อย
Sound ***
คุณภาพเสียงจัดอยู่ในขั้นดี (ทุกเพลงเป็นระบบโมโนตามยุคสมัย)
แต่ถ้าจะเทียบกับรีมาสเตอร์รุ่นใหม่ๆที่ออกมาในช่วงหลังก็ยังเป็นรองอยู่
ถ้าท่านต้องการเน้นคุณภาพเสียงจริงๆก็คงจะต้องมองข้ามงานนี้ไป
และไปตามเก็บงานรีมาสเตอร์ในช่วงสิบปีหลังนี้แทน
(อาจจะเหนื่อยหน่อยกับการที่จะตามให้ครบ ยกเว้นท่านจะลงทุนทีเดียวไปเลยกับกล่อง The
Complete Masters 30 แผ่น)
สรุป ****
เป็นผลงานที่ทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา
บ่งบอกความยิ่งใหญ่ของเอลวิสได้เป็นอย่างดีเลิศด้วยการนั่งฟังเพลงต่อเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ
เพลงฮิตๆที่ฟังจนหน่าย เมื่อมาอยู่ในซีรีส์ของห้วงเวลาของมันก็กลับมีพลังขึ้นมาอย่างน่าประหลาด
การออกแบบอาจจะธรรมดาและเรียบง่ายไปสักนิด และคุณภาพเสียงก็อาจจะไม่ถึงกับดีที่สุด
แต่นั่นก็เป็นเพียงประหนึ่งรอยขีดข่วนเล็กน้อยที่ขอบๆของมงกุฏราชาร็อคแอนด์โรล
เอลวิส เพรสลีย์
|
Disc 1 (1:11:40)
|
|||
1-1
|
My Happiness
|
2:31
|
||
1-2
|
That's All Right
|
1:55
|
||
1-3
|
I Love You
Because
|
2:42
|
||
1-4
|
Harbor Lights
|
2:35
|
||
1-5
|
Blue Moon Of
Kentucky
|
2:02
|
||
1-6
|
Blue Moon
|
2:31
|
||
1-7
|
Tomorrow Night
|
2:58
|
||
1-8
|
I'll Never Let
You Go (Little Darlin')
|
2:24
|
||
1-9
|
I Don't Care
If The Sun Don't Shine
|
2:27
|
||
1-10
|
Just Because
|
2:32
|
||
1-11
|
Good Rockin'
Tonight
|
2:12
|
||
1-12
|
Milkcow Blues
Boogie
|
2:38
|
||
1-13
|
You're A
Hearbreaker
|
2:12
|
||
1-14
|
Baby Let's
Play House
|
2:15
|
||
1-15
|
I'm Left,
You're Right, She's Gone
|
2:36
|
||
1-16
|
Mystery Train
|
2:24
|
||
1-17
|
I Forgot To Remember
To Forget
|
2:28
|
||
1-18
|
Trying To Get
To You
|
2:31
|
||
1-19
|
When It Rains,
It Really Pours
|
2:01
|
||
1-20
|
I Got A Woman
|
2:23
|
||
1-21
|
Heartbreak
Hotel
|
2:08
|
||
1-22
|
Money Honey
|
2:34
|
||
1-23
|
I'm Counting
On You
|
2:23
|
||
1-24
|
I Was The One
|
2:33
|
||
1-25
|
Blue Suede
Shoes
|
1:58
|
||
1-26
|
My Baby Left
Me
|
2:11
|
||
1-27
|
One-Sided Love
Affair
|
2:09
|
||
1-28
|
So Glad You're
Mine
|
2:20
|
||
1-29
|
I'm Gonna Sit
Right Down And Cry (Over You)
|
2:01
|
||
1-30
|
Tutti Frutti
|
1:58
|
||
|
Disc 2 (1:11:18)
|
|||
2-1
|
Lawdy Miss
Clawdy
|
2:08
|
||
2-2
|
Shake, Rattle
And Roll
|
2:37
|
||
2-3
|
I Want You, I
Need You, I Love You
|
2:40
|
||
2-4
|
Hound Dog
|
2:16
|
||
2-5
|
Don't Be Cruel
|
2:02
|
||
2-6
|
Any Way You
Want Me
|
2:13
|
||
2-7
|
We're Gonna
Move
|
2:30
|
||
2-8
|
Love Me Tender
|
2:41
|
||
2-9
|
Poor Boy
|
2:13
|
||
2-10
|
Let Me
|
2:08
|
||
2-11
|
Playing For
Keeps
|
2:50
|
||
2-12
|
Love Me
|
2:43
|
||
2-13
|
Paralyzed
|
2:23
|
||
2-14
|
How Do You
Think I Feel
|
2:10
|
||
2-15
|
How's The
World Treating You
|
2:23
|
||
2-16
|
When My Blue
Moon Turns To Gold Again
|
2:20
|
||
2-17
|
Long Tall
Sally
|
1:51
|
||
2-18
|
Old Shep
|
4:10
|
||
2-19
|
Too Much
|
2:31
|
||
2-20
|
Anyplace Is
Paradise
|
2:26
|
||
2-21
|
Ready Teddy
|
1:56
|
||
2-22
|
First In Line
|
3:22
|
||
2-23
|
Rip It Up
|
1:53
|
||
2-24
|
I Believe
|
2:05
|
||
2-25
|
Tell Me Why
|
2:05
|
||
2-26
|
Got A Lot O'
Livin' To Do
|
2:31
|
||
2-27
|
All Shook Up
|
1:56
|
||
2-28
|
Mean Woman
Blues
|
2:15
|
||
2-29
|
(There'll Be)
Peace In The Valley (For Me)
|
3:21
|
||
|
Disc 3 (1:12:05)
|
|||
3-1
|
That's When
Your Heartaches Begin
|
3:20
|
||
3-2
|
Take My Hand,
Precious Lord
|
3:16
|
||
3-3
|
It Is No
Secret (What God Can Do)
|
3:53
|
||
3-4
|
Blueberry Hill
|
2:39
|
||
3-5
|
Have I Told
You Lately That I Love You
|
2:31
|
||
3-6
|
Is It So
Strange
|
2:28
|
||
3-7
|
Party
|
1:26
|
||
3-8
|
Lonesome
Cowboy
|
3:01
|
||
3-9
|
Hot Dog
|
1:12
|
||
3-10
|
One Night Of
Sin
|
2:35
|
||
3-11
|
(Let Me Be
Your) Teddy Bear
|
1:45
|
||
3-12
|
Don't Leave Me
Now
|
1:58
|
||
3-13
|
I Beg Of You
|
1:50
|
||
3-14
|
One Night
|
2:29
|
||
3-15
|
True Love
|
2:05
|
||
3-16
|
I Need You So
|
2:37
|
||
3-17
|
Loving You
|
2:12
|
||
3-18
|
When It Rains,
It Really Pours
|
1:47
|
||
3-19
|
Jailhouse Rock
|
2:26
|
||
3-20
|
Young And
Beautiful
|
2:02
|
||
3-21
|
I Want To Be
Free
|
2:12
|
||
3-22
|
(You're So
Square) Baby I Don't Care
|
1:51
|
||
3-23
|
Don't Leave Me
Now
|
2:05
|
||
3-24
|
Blue Christmas
|
2:07
|
||
3-25
|
White
Christmas
|
2:23
|
||
3-26
|
Here Comes
Santa Claus (Right Down Santa Claus Lane)
|
1:54
|
||
3-27
|
Silent Night
|
2:23
|
||
3-28
|
O Little Town
Of Bethlehem
|
2:35
|
||
3-29
|
Santa Bring My
Baby Back (To Me)
|
1:51
|
||
3-30
|
Santa Claus Is
Back In Town
|
2:22
|
||
3-31
|
I'll Be Home
For Christmas
|
1:53
|
||
|
Disc 4 (1:02:53)
|
|||
4-1
|
Treat Me Nice
|
2:10
|
||
4-2
|
My Wish Came
True
|
2:33
|
||
4-3
|
Don't
|
2:48
|
||
4-4
|
Danny
|
1:51
|
||
4-5
|
Hard Headed
Woman
|
1:53
|
||
4-6
|
Trouble
|
2:16
|
||
4-7
|
New Orleans
|
1:58
|
||
4-8
|
Crawfish
|
1:38
|
||
4-9
|
Dixieland Rock
|
1:46
|
||
4-10
|
Lover Doll
|
2:09
|
||
4-11
|
Don't Ask Me
Why
|
2:06
|
||
4-12
|
As Long As I
Have You
|
1:50
|
||
4-13
|
King Creole
|
2:08
|
||
4-14
|
Young Dreams
|
2:23
|
||
4-15
|
Steadfast,
Loyal And True
|
1:15
|
||
4-16
|
Doncha' Think
It's Time
|
1:54
|
||
4-17
|
Your Cheatin'
Heart
|
2:24
|
||
4-18
|
Wear My Ring
Around Your Neck
|
2:13
|
||
4-19
|
I Need Your
Love Tonight
|
2:04
|
||
4-20
|
A Big Hunk O'
Love
|
2:12
|
||
4-21
|
Ain't That
Loving You Baby
|
2:22
|
||
4-22
|
(Now And Then
There's) A Fool Such As I
|
2:36
|
||
4-23
|
I Got Stung
|
1:49
|
||
4-24
|
Interview With
Elvis
|
12:34
|
||
|
Disc 5: Rare And Rockin'
(1:01:47)
|
|||
5-1
|
That's When
Your Heartaches Begin (1953 Version)
|
2:46
|
||
5-2
|
Fool, Fool,
Fool (Demo)
|
1:51
|
||
5-3
|
Tweedle Dee
(Live)
|
2:07
|
||
5-4
|
Maybellene
(Live)
|
1:58
|
||
5-5
|
Shake, Rattle
And Roll (Demo)
|
2:16
|
||
5-6
|
Blue Moon Of
Kentucky (Alternate Take)
|
1:03
|
||
5-7
|
Blue Moon
(Outtake)
|
2:55
|
||
5-8
|
I'm Left,
You're Right, She's Gone (Outtake)
|
2:40
|
||
5-9
|
Reconsider
Baby (Jam Session)
|
2:53
|
||
5-10
|
Lawdy, Miss
Clawdy (Outtake)
|
2:02
|
||
5-11
|
Shake, Rattle
And Roll (Outtake)
|
2:25
|
||
5-12
|
I Want You, I
Need You, I Love You (Outtake)
|
2:40
|
||
5-13
|
Heartbreak
Hotel (Live)
|
2:54
|
||
5-14
|
Long Tall
Sally (Live)
|
2:15
|
||
5-15
|
Blue Suede
Shoes (Live)
|
4:59
|
||
5-16
|
Money Honey
(Live)
|
3:16
|
||
5-17
|
We're Gonna
Move (Outtake)
|
2:30
|
||
5-18
|
Old Shep
(Alternate Master)
|
3:53
|
||
5-19
|
I Beg Of You
(Alternate Master)
|
1:51
|
||
5-20
|
Loving You
(Slow Version)
|
1:48
|
||
5-21
|
Loving You
(Uptempo Version)
|
1:24
|
||
5-22
|
Young And
Beautiful (Alternate Master)
|
1:09
|
||
5-23
|
I Want To Be
Free (Alternate Master)
|
2:06
|
||
5-24
|
King Creole
(Alternate Master)
|
2:04
|
||
5-25
|
As Long As I
Have You (Alternate Master)
|
1:24
|
||
5-26
|
Ain't That
Loving You Baby (Fast Version)
|
1:48
|
No comments:
Post a Comment