"ALL YOU NEED IS LOVE"
(พี่โม่แห่งวงหนึ่งโม่โจ้หวังแปลไว้ให้ผมจากหนังสือ A Hard Day's Write ของ Steve Turner เมื่อหลายปีก่อน)
--------------
ตอนต้นปี 1967 The Beatles ได้ถูกทาบทามจากทางสถานีวิทยุ BBC ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในรายการที่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นการออกอากาศสดๆทางเครือข่ายทั่วโลกครั้งแรกก็ว่าได้ รายการดังกล่าวมีความยาว 125 นาที และแพร่ภาพไปยัง 26 ประเทศพร้อมกันทั่วโลก โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายการออกอากาศทั้งใน ยุโรป, สแกนดิเนเวีย, อเมริกาเหนือ,อเมริกากลาง, อัฟริกาเหนือ, ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
และเพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์สู่หน้าประวัติศาสตร์ พวกเขาได้ถูกร้องขอให้ประพันธ์เพลงพิเศษขึ้นมาเพลงหนึ่ง ให้มีความเรียบง่ายและสามารถสื่อให้ผู้ฟังจากหลากหลายประเทศเข้าใจได้ การประพันธ์เพลงดังกล่าวได้เริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม โดย John และ Paul ต่างคนต่างก็เขียนงานของตัวเองกันขึ้นมา จนกระทั่งเพลงของ John, "All You Need Is Love" ได้แสดงออกมาให้เห็นว่าน่าจะเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนที่สุด นอกเหนือไปจากความเรียบง่ายของเนื้อหาและทำนองที่ไม่สลับซับซ้อนแล้ว เพลงนี้ยังส่อให้เห็นว่าน่าที่จะเข้าไปโดนใจของวัยรุ่นทั่วโลกในสมัยนั้นได้ไม่ยาก ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่สงครามเวียตนามกำลังร้อนระอุและวัยรุ่นใน Love Generation ก็ได้ออกมาแสดงความรู้สึกต่อต้านในรูปแบบของการประท้วงเพื่อเรียกร้องสันติภาพ
Brian Epstein กล่าวว่า "มันเป็นเพลงที่วิเศษมาก และพวกเขาทั้งสี่ก็ต้องการที่จะส่งสาส์นนี้บอกไปยังมวลมนุษยชาติบนโลกจริงๆ" "มันเป็นเรื่องที่ดีมากทีเดียวที่สาส์นนี้สามารถถ่ายทอดออกไปโดยไม่มีทางผิดเพี้ยน เพราะข้อความที่ค่อนข้างจะชัดเจนในตัวของมันเอง นั่นคือ ความรักคือทุกสิ่งทุกอย่าง"
"All You Need Is Love" เพลงที่มีเนื้อหาเพื่อเรียกร้องความรักจากมวลมนุษยชาติด้วยกันนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นสาส์นที่ John ส่งต่อเนื่องมาจากความพยายามครั้งแรกของเขา ในปี 1965 จากเพลง "The Word" (จากอัลบั้ม Rubber Soul) เนื่องจากเขามีความหลงไหลในพลังของสโลแกนชักจูงใจในอันที่จะรวบรวมมวลชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้ตกลงใจว่าจะเขียนอะไรขึ้นมาสักอย่างที่เป็นผลงานของตัวเขาเองให้ประสบความสำเร็จแบบเดียวกันกับเพลง "We Shall Overcome" แต่ให้มีความเป็นอมตะเข้าได้กับทุกยุคสมัยมากกว่า ("We Shall Overcome" เป็นเพลงของสหภาพแรงงานที่เป็นที่นิยมมากในยุค 60s ขับร้องโดยนักร้องเพลงโฟล์คชื่อ Pete Seeger ดู note 2)
Note 2: เนื้อเพลง "We shall overcome"
"We shall overcome
We shall overcome
We shall overcome some day
Oh, deep in my heart, I do believe
We shall overcome some day
We shall overcome
We shall overcome some day
Oh, deep in my heart, I do believe
We shall overcome some day
We shall all be free
We shall all be free
We shall all be free some day
Oh, deep in my heart, I do believe
We shall overcome some day
We shall all be free
We shall all be free some day
Oh, deep in my heart, I do believe
We shall overcome some day
We shall live in peace
We shall live in peace
We shall live in peace some day
Oh, deep in my heart, I do believe
We shall overcome some day"
We shall live in peace
We shall live in peace some day
Oh, deep in my heart, I do believe
We shall overcome some day"
-Pete Seeger (We shall overcome)
John เคยกล่าวว่า "ผมชอบพวกคำสโลแกน" "ผมชอบการโฆษณา ผมรักสื่อโทรทัศน์" และในปี 1971 เขาเคยถูกสัมภาษณ์ เกี่ยวกับเพลง อย่าง "Give Peace A Chance" และ "Power To The People" ว่าเป็นเพลงโฆษณาชวนเชื่อรึเปล่า เขาตอบไปทันที่ว่า "ใช่ แน่นอน รวมไปถึงเพลง "All You Need Is Love" ด้วย ผมเป็นศิลปินนักปฏิวัติ ศิลปะของผมอุทิศให้เพื่อการเปลี่ยนแปลง"
สิ่งที่บรรดาผู้ชมทั่วโลกได้เห็นจากในรายการ "Our World" ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1967 นั้นคือ การจำลองรูปแบบการบันทึกเสียงในห้องอัดนั่นเอง Rhythm Track ได้ถูกบันทึกไปก่อนหน้านี้แล้วคือในวันที่ 14 มิถุนายน 1967 และส่วนที่ถูกเพิ่มเข้าไปสดๆก็กระทำกันเดี๋ยวนั้นเลยซึ่งได้รวมไปถึงการ Mix เสียงเพื่อการออกอากาศด้วย
บรรยากาศของงานปาร์ตี้ได้ถูกจัดฉากขึ้นในห้องบันทึกเสียงในสตูดิโอ Abbey Road ห้องที่ 1 โดยได้มีการเชิญเหล่าบรรดาเพื่อนพ้องศิลปิน ไม่ว่าจะเป็น Mick Jagger, Marianne Faithfull, Eric Clapton และ Keith Moon ให้มานั่งรายล้อมกันพร้อมทั้งถือลูกโป่ง, โบกใบปลิว และร่วมประสานเสียง Chorus ให้ในเพลง
บรรยากาศของงานปาร์ตี้ได้ถูกจัดฉากขึ้นในห้องบันทึกเสียงในสตูดิโอ Abbey Road ห้องที่ 1 โดยได้มีการเชิญเหล่าบรรดาเพื่อนพ้องศิลปิน ไม่ว่าจะเป็น Mick Jagger, Marianne Faithfull, Eric Clapton และ Keith Moon ให้มานั่งรายล้อมกันพร้อมทั้งถือลูกโป่ง, โบกใบปลิว และร่วมประสานเสียง Chorus ให้ในเพลง
George Martin ได้ช่วยเน้นให้การส่งสารนี้ไปยังประชาคมโลกดูมีความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยการใส่ท่อนเปิดของเพลงๆนี้ด้วยท่วงทำนองของเพลงชาติฝรั่งเศสและจบลงด้วยการฉกเอาบางท่อนจากเพลงของ Glenn Miller ที่ชื่อ "In The Mood", เพลงของ Bach คีตกวีชาวเยอรมัน[ two-part invention] และเพลง "Greensleeves" นำมาใส่ไว้ด้วย
เพลงนี้ได้ถูกตัดออกมาเป็น Single และออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม และต่อมาได้กลายมาเป็น เพลงสัญญลักษณ์ของฤดูร้อนแห่งความรัก [summer of love] อาขยานแห่งสันติภาพ ความรักและความเข้าใจของเหล่าบรรดาบุปผาชน
Paul ได้พูดถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "เขาบอกกับพวกเราว่า ในขณะที่พวกเรากำลังบันทึกเสียงเพลงนี้อยู่ ผู้คนได้เห็นช่วงเวลานั้นพร้อมกันทั้งโลก" "เราได้ส่งสาสน์ฉบับหนึ่งไปสู่โลกภายนอก นั่นคือความรัก .. โลกของเราต้องการความรักมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้"
No comments:
Post a Comment