Saturday 28 February 2009

Beatles ยึดอเมริกาในปี 1964 (พ.ศ. ๒๕๐๗)-1




ในวันที่14มกราคม หลังจากสิบคืนสุดท้ายของ "The Beatles' Christmas Show"
และการกลับเข้าไปเล่นสดในรายการ Val Parnell's Sunday Night at London Palladium
อีกครั้ง , เดอะ บีเทิลส์ ที่ปราศจากริงโก้ (ติดหมอกอยู่ในลิเวอร์พูล)
ออกเดินทางสู่ปารีส เพื่อการแสดงแบบมาราธอนที่ โอลิมเปีย เธียเตอร์

(ในวันที่13พวกเขาได้พักหนึ่งวัน และวันที่ พอล จอห์น จอร์จ ไปถึงสนามบิน
Le Bourget ในกรุงปารีส พวกเขาได้รับการต้อนรับจากวัยรุ่นปารีเซียงจำนวน.....60คน)

ริงโก้และนีล แอสไพนัล ตามมาในวันต่อมา เขามาถึงทันเวลาพอดีสำหรับการแสดงครั้งแรกในฝรั่งเศสของพวกเขา

มันเป็นการเล่นอุ่นเครื่องที่ Cinema Cyrano, Rue Rameau, Versailles ต่อหน้าผู้ชม 200คน ก่อนที่จะเล่นกันยาวเหยียดสามสัปดาห์รวดที่โอลิมเปีย

การแสดงคืนนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นความสำเร็จของพวกเขาได้เลย แม้แต่พวกบีเทิลส์เองก็ยังไม่พอใจกับการแสดงของตัวเอง การเปิดตัวที่โอลิมเปียในวันที่16มกราคมก็ไม่ได้ดีไปกว่านั้นนัก แอมป์ของพวกเขามีปัญหาถึงสามครั้ง และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่สงสัยว่า จอร์จเป็นคนก่อวินาศกรรมซะเอง

ผู้ชมในคืนเปิดนี้ส่วนมากเป็นพวกไฮโซของปารีสมากันในชุดหรูหราและดูจะชัดเจนว่าไม่มีความชื่นชมใดๆกันนักระหว่างคนดูกับสี่หนุ่มจากลิเวอร์พูล

การต้อนรับจากสื่อมวลชนก็เย็นชาพอๆกัน ไบรอัน ซอมเมอร์วิลล์ โฆษกคนใหม่ของวงถึงขั้นต้องแสร้งทำเสียงอึกทึกคึกโครมหลังเวทีเพื่อเรียกร้องความสนใจจากสาธารณชนเป็นพิเศษ

แม้ว่าจะสะดุดไปบ้างกับช่องโหว่ในการไต่เต้าสู่ความสำเร็จอันมหัศจรรย์มาโดยตลอดในการแสดงครั้งนี้ แต่ The Beatles ก็ไม่ได้แคร์กับเรื่องนี้นัก

เพราะหลังจากกลับห้องสวีทของพวกเขาที่โรงแรม George V พวกเขาก็ได้รับโทรเลขแจ้งข่าวว่าในซิงเกิ้ลชาร์ทของ Cashbox สัปดาห์ต่อไป เพลง 'I Want To Hold Your Hand' ของพวกเขากระโดดวูบเดียวจากอันดับที่ 43 ขึ้นสู่อันดับหนึ่ง


นี่เป็นสิ่งสุดยอดปรารถนาที่เหล่าบีเทิลส์และไบรอัน เอ็บสไตน์ รอคอยมานาน แทบไม่เคยมีศิลปินจากเมืองผู้ดีผู้ใดสามารถฝ่าเข้าไปมีชื่อเสียงในอเมริกาได้

เพียงแค่สามวัน 'I Want To Hold Your Hand' ก็ขายได้ 250,000 แผ่นในอเมริกา และในวันที่ 10 มกราคม ยอดก็ทะลุไปถึงล้านแผ่น


ในวันที่ 13มกราคม มันขายได้หนึ่งหมื่นแผ่นในหนึ่งชั่วโมง เฉพาะในนิวยอร์คที่เดียว และความจริงที่ว่า มีอีกสองตราแผ่นเสียงนอกจาก Capitol (Vee Jay และ Swan) ซึ่งต่างก็ปล่อยแผ่นเสียงของบีเทิลส์ออกมาในเวลาเดียวกัน (แถมยังมีอีกอย่างน้อยสองตราคือ Liberty และ Laurie ที่ล้มเลิกการตัดสินใจที่จะถอดถอน 'Please Please Me' ก่อนที่มันจะไปอยู่ในมือ Vee Jay)

มันหมายความว่า ซิงเกิ้ลจากปี 1963 ทั้งหมดและอีกสองอัลบั้มของพวกเขาพากันตบเท้าเดินหน้าเข้าสู่อันดับเพลงอเมริกันด้วยอัตราความแรงที่ไม่น่าเชื่อ

และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนที่บีเทิลส์จะเดินทางสู่นิวยอร์คไม่กี่วัน พวกเขาวางแผนกันไว้ล่วงหน้าสามเดือนแล้ว ที่จะไปปรากฏตัวในรายการ Ed Sullivan Show ซึ่งจะมีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ

ความประจวบเหมาะนี้(อันเป็นเรื่องบังเอิญโดยแท้จริง) จัดเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก