Sunday 1 March 2009

Beatles ยึดอเมริกาในปี 1964 (พ.ศ. ๒๕๐๗)-2




ขณะที่นักข่าวของอังกฤษในตอนนั้นกำลังพยายามที่จะโค่นบีเทิลส์ลงจากบัลลังก์หลังจากที่พวกเขาปั้นสี่เต่าทองขึ้นมาจากศิลปินเดินดินธรรมดาๆ(เป็นเรื่องไม่น่าแปลกสำหรับสื่ออังกฤษในยุคนั้น)

สื่ออเมริกันกลับอยู่ในช่วงที่หิวกระหายข่าวจากวงป๊อบอังกฤษที่กุมหัวใจเด็กวัยรุ่นทั้งชาติมาแล้ว
นักข่าวอเมริกันชั้นแนวหน้าพากันแห่มาปารีส เพื่อสัมภาษณ์พวกเขา


ไบรอัน เอ็บสไตน์ก็มีแขกมาเยี่ยมเช่นกัน เขาคือ Norman Weiss , theartrical agent จากนิวยอร์ค Weiss ทำงานให้ General Artists Corporation

และเขาอยู่ในปารีสในฐานะผู้จัดการของ Trini Lopez ซึ่งเป็นศิลปินที่แสดงในรายการเดียวกับบีเทิลส์ที่โอลิมเปีย

ก่อนหน้านี้ Sid Bernstein ผู้ร่วมงานของ Weiss ที่ GAC และเป็นโปรโมเตอร์อิสระในนามของบริษัทของเขา-Theatre Tree Productions ได้แสดงเจตจำนงในการดึงตัวบีเทิลส์ไปเปิดการแสดงที่ Carnegie Hall ในนิวยอร์คมาก่อนแล้ว

ซิดถึงขั้นกำหนดวันให้ว่าเป็นวันที่ 12กุมภาพันธ์ แต่ไบรอันยังไม่อยากจะจองตัวให้บีเทิลส์เล่นที่ไหนจนกว่าจะถึงเวลาอันเหมาะสม

และขณะนี้เวลานั้นมาถึงแล้ว และ Weiss ในนามของ Bernstein ก็ได้ตกลงทำสัญญากับไบรอันเรียบร้อยในกรุงปารีส ด้วยค่าตัว 7,000ดอลลาร์ สี่เต่าทองตกลงจะแสดงสองรอบ

เวสส์ยังเซ็นสัญญาให้พวกเขาไปเปิดการแสดงรอบเดียวที่ Washington DC ในวันที่ 11กุมภาพันธ์อีกด้วย

ในวันที่ 3กุมภาพันธ์ ก่อนที่บีเทิลส์จะสิ้นสุดการแสดงสามสัปดาห์ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักของพวกเขาในปารีส สี่เต่าทองเดินทางไปที่สถานทูตอเมริกันในปารีสเพื่อทำวีซ่าและหนังสืออนุญาตที่จำเป็นในการเข้าเมืองและทำงานในอเมริกา

ในวันที่5 พวกเขาเดินทางกลับอังกฤษ

สองวันต่อมา ในวันศุกร์ที่7 กุมภาพันธ์ เวลาท้องถิ่น 13:20 นาฬิกา เครื่องบินโบอิ้ง 707 ของ Pan American เที่ยวบิน PA101 ได้นำผู้โดยสารจำนวนหนึ่งมาแตะพื้นสนามบิน John F Kennedy International Airport ในนิวยอร์ค

แน่นอน-สี่คนในบรรดาผู้โดยสารเที่ยวนั้นก็คือเด็กหนุ่มสี่คนผู้โด่งดังจากลิเวอร์พูล

การต้อนรับที่มีให้พวกเขานั้นน่าตื่นตระหนกนัก-แม้ว่าจะวัดจากมาตรฐานที่สุดโต่งของ Beatlemania แล้วก็ตาม
เสียงกรีดร้องอย่างดุเดือดจากแฟนๆสามหมื่นคนสาดกระหน่ำลงมาที่เต่าทองทั้งสี่

บีเทิลแต่ละคนให้ฉงนสงสัยว่าทำไมพวกเขาถึงได้รับการต้อนรับที่ยอดเยี่ยมขนาดนี้

อเมริกาไม่ได้มีดาราเพียงพอต่อความต้องการของพวกเขาแล้วหรือ?
ไม่ใช่อเมริกาหรอกหรือ ที่สร้างสรรค์ดนตรีอันเป็นแรงบันดาลใจและมีอิทธิพลต่อเดอะ บีเทิลส์ในตอนแรกเริ่ม

ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาทำอยู่-แน่นอน-เป็นการมอบคืนกลับให้ชาวอเมริกัน ในสิ่งที่พวกเขามีอยู่แล้ว

สิ่งที่บีเทิลส์ไม่ได้ตระหนักก็คืออเมริกา,ในห้วงเวลาแห่งการอาดูรหลังการลอบสังหารประธานาธิบดีเคเนดี้,นั้น ยิ่งกว่าพร้อมที่จะต้อนรับบันเทิงคดีที่จะทำให้พวกเขาลืมความโศกนี้ได้

ราวกับว่าประชากรทั้งหมด(ออกจะฟังดูวิตถารไปหน่อย เมื่อมองจากยุคปัจจุบัน) ตกอยู่ในอำนาจของเดอะ บีเทิลส์โดยสิ้นเชิง--ด้วยความกระตือรือร้นอย่างแรงกล้า

ในวันที่9 กุมภาพันธ์ ต่อหน้าผู้ชมวัยรุ่นนิวยอร์ค 728คนที่อยู่ในอาการคลุ้มคลั่งสุดๆ เดอะ บีเทิลส์ได้แสดงสดในรายการ The Ed Sullivan Show เป็นครั้งแรก

มีรายงานจาก The A C Nielsen rating ว่าจำนวนบ้านที่เปิดดูรายการนี้คือ 23,240,000 หลัง , ก็คือประมาณว่า 73ล้านคน ทำลายสถิติโลกสำหรับจำนวนผู้ชมที่ชมทีวีมากที่สุด

สองวันหลังจากนั้น ท่ามกลางบรรยากาศโกลาหลสุดขีด เดอะ บีเทิลส์ก้าวขึ้นเวทีที่ Washington Coliseum และเปิดคอนเสิร์ทครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

24ชั่วโมงต่อมา ความอลหม่านในระดับเดียวกันก็ย้ายมาต้อนรับพวกเขา ในการแสดงสองรอบที่ Carnegie Hall อันโด่งดัง ซึ่ง ณ ที่นี้ ต้องใช้ตำรวจถึง 362 นายมาอารักขาเพื่อให้แน่ใจว่าเดอะ บีเทิลส์จะไม่ได้รับภยันตรายใดๆจากแฟนเพลง

เมื่อบีเทิลส์บินออกจากอเมริกาในวันศุกร์ที่ 21กุมภาพันธ์ พวกเขาทิ้งชาวอเมริกันผู้ตกอยู่ในความหลงใหลยิ่งนักไว้เบื้องหลัง-มันเป็นความจริงที่อธิบายไม่ได้และไม่น่าจะเป็นไปได้

แต่ไบรอัน เอ็บสไตน์ผู้ซึ่งวางแผนแยบยลเกี่ยวกับการมาเยือนอเมริกาไว้ในใจล่วงหน้าแล้ว ก็ได้ทำในสิ่งที่ไม่มีผู้จัดการคนไหนเขาทำกัน

ไบรอันปฏิเสธข้อเสนอมากมายที่ต้องการให้บีเทิลส์กลับมายังอเมริกาโดยทันทีอย่างสิ้นเชิง (อันเป็นการเพิ่มค่าตัวในการปรากฏตัวทางโทรทัศน์ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียโอกาสดีๆในการโปรโมทไป)

ด้วยความกลัวที่จะเป็นอะไรที่โหลเกินไป และ การตระหนักถึงความต้องการในที่อื่นๆอีก เดอะ บีเทิลส์จึงไม่ได้กลับมาอเมริกาเหนืออีกจนกระทั่งเดือนสิงหาคม

ถ้าปี 1963เป็นปีที่บีเทิลส์ครองเกาะอังกฤษ 1964 ก็ต้องเรียกว่าเป็นปีที่พวกเขาครองโลก

หลังจากกลายเป็นอมตะไปแล้วในบ้านเกิดตัวเอง ผู้จัดการหนุ่ม ไบรอัน เอ็บสไตน์ เริ่มสอดส่ายสายตาไปยังที่หมายอื่น

ในวันที่9มีนาคม ขณะที่เขานั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานที่ NEMS' new London office (ซึ่งตั้งอยู่ถัดจาก London Palladium แบบมิได้มิจงใจ) เขาได้สำรวจกำหนดการแสดงที่ ออสเตรเลีย,ฮอลแลนด์, เดนมาร์ค,ฮ่องกง และ สวีเดน

ส่วน Arthur Howes โปรโมเตอร์ชาวอังกฤษก็รู้สึกคึกคักนักที่จะทำทัวร์ในบ้านเกิดอีกครั้ง

และไบรอันเองก็อยากที่จะให้มีการแสดงบนเวทีในแบบคริสต์มาสโชว์ในตอนปลายปีอีกครั้งหนึ่ง

และสุดท้ายแล้ว เดอะ บีเทิลส์ ก็ได้ทำทุกสิ่งที่ว่ามาหมดเกลี้ยงในปี1964นี้ และแถมยังบันทึกเสียงสองอัลบั้ม,ซิงเกิ้ลอีกจำนวนหนึ่ง และ ภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่อง

No comments: