Saturday 21 February 2009

10 เพลงหายากที่สุดของสี่เต่าทอง





Beatles บันทึกเสียงร่วมกันไว้แค่สิบกว่าปี แต่มีงานที่เป็น bootlegs ออกมามากมายมหาศาล สิบเพลงที่จะเล่าให้ฟังนี้ แฟนตัวจริงรู้ว่ามันมีอยู่ แต่พวกเขายังไม่มีบุญจะได้ฟังมัน ทุกอย่างยังคงนอนนิ่งสงบอยู่ที่ไหนสักแห่งในคลังของ EMI หรืออาจจะเป็นห้องใต้ดินในบ้านสักหลังของพอล แมคคาร์ทนีย์ ถ้าไปเจอว่ามีชื่อเพลงเหล่านี้ใน bootlegs ม้วนใดให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่ามันคือของเก๊.... เรามาดูกันว่ามีเพลงอะไรมั่ง
อืมม์ ความจริงชื่อของ entry นี้มันไม่น่าจะเป็นหายากโคตรนะ เพราะมันคือ "หาไม่ได้" มากกว่า
(entry นี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก entry ก่อนที่มีคนเปรยๆว่าอยากฟัง Anything เพลงโชว์กลองของริงโก้กันเยอะ)


Baby, Let's Play House: จากการบันทึกเสียงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1957 ของวง Quarry Men วันที่จอห์นได้พบกับพอลเป็นครั้งแรก วันนี้ว่ากันว่ามีคนอัดเทปไว้สองเพลง เพลงนึงคือ Puttin' On The Style ที่มีหลุดมาให้ฟังกัน 30 วินาที(คนแอบอัดระหว่างเปิดประมูล) ส่วนเพลง cover Elvis เพลงนี้ยังไม่เคยหลุดออกมาให้ได้ยินกันแม้แต่น้อย


Tip of My Tongue: พวกเขาเล่นเพลงนี้กันหลายเทคในวันที่ 26 พ.ย. 1962 ที่อีเอ็มไอ แต่ไม่พอใจกับผลที่ออกมา เลยโยนให้ ทอมมี่ ควิกลี่ บันทึกเสียง


Love You To (take 1): ตอนนั้นเพลงนี้ยังใช้ชื่อว่า Granny Smith เทค 1 นี้ยังไม่มีความเป็นอินเดียเหมือนที่เราคุ้นเคย แต่จะมีแค่จอร์จเล่นกีต้าร์โปร่งและร้องนำ ส่วนพอลให้เสียงประสานนิดหน่อย น่าฟังเนอะ
Carnival Of Light: งานทดลองยาว 15 นาทีที่บันทึกเสียงกันระหว่างSgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band sessions. มันเป็นงานที่เป็นที่กล่าวขวัญและหากันให้ควั่กที่สุดเพลงนึงของ Beatles เพลงนี้เกือบได้อยู่ในซีดี Anthology2 แต่ถูกริงโก้และจอร์จวีโต้เพราะเห็นว่ามันสิ้นเปลืองเวลาเกินไป


Helter Skelter (take 3): นี่ก็เป็นสุดยอดแห่งความปรารถนาอีกเพลงของเหล่าสาวกเดนตาย เล่นกันแบบบลูส์กว่าเวอร์ชั่นสุดท้าย และยาวถึง 27 นาที 11 วินาที บางคนว่าเทปน่าจะถูกลบไปแล้ว แต่แฮริสันบอกไว้ตอนทำสารคดี Anthology ว่าเขาเพิ่งได้ฟังมันไป มาร์ค เลวิซอน บรรยายเทคนี้เอาไว้ว่ามันส์หยอดติ๋ง จนทำให้มันเป็นที่ต้องการกันอย่างหนักตั้งแต่นั้นมา ในซีดี Anthology 3 พวกเขาปล่อยเทค 2 ยาว 4.37 นาทีออกมา ซึ่งฟังแล้วก็งั้นๆ


Anything: บันทึกเสียงระหว่าง Sgt. Pepper's session ในวันที่ 22 ก.พ. 1967 ระหว่างการทำโอเวอร์ดับในเพลง A Day In The Life ถือเป็นงานทดลองอีกอันที่ยาวเหยียด 22.10 นาทีและเต็มไปด้วยเสียงกลองและเพอร์คัสชั่น นักค้นคว้ายังไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะเอามันไปทำริธึ่มให้เพลงอื่นหรือว่าเป็นท่อน excerpt ของอะไร แต่พวกเขาก็ไม่ได้ทำอะไรกะมันต่อหลังจากนั้น


"Etcetera": พอลอัดเพลงนี้อย่างรีบเร่งระหว่างการทำ White Album และก็ไม่เคยมีใครได้ยินมันอีกหลังจากนั้น


Now and Then/I Don't Want to Lose You/Miss You: เพลงจาก reunion session ช่วงกลางทศวรรษ 90's เริ่มจากการเป็นเดโมเก่าของจอห์นที่บันทึกไว้ในปี 1979 พอล จอร์จ ริงโก้นำเทปมาต่อยอดกันในวันที่ 20-21 มีนาคม 1995 แต่ว่ามัปัญหาคือเสี่ยงรบกวนในเดโมเดิมของจอห์นนั้นค่อนข้างจะสาหัส นั่นอาจเป็นสาเหตุที่พวกเขาตัดสินใจหยุดการทำงานในแทร็คนี้และทิ้งมันไว้อย่างนั้น ไม่งั้นมันคงเป็นซิงเกิ้ลที่สามของซีรีส์ Anthology ต่อจาก Real Love งานเดโมดั้งเดิมของจอห์นมีหลุดออกมาเป็น bootleg เหมือนกัน แต่งานที่สามเต่าทองโอเวอร์ดับลงไปแล้วยังไม่เคยหลุด ปีสองปีนี้มีข่าวลือหนาหูว่าพอลกับริงโก้จะเอามันมาทำต่อให้เสร็จ และอาจจะออกมาให้ฟังพร้อมๆกับเพลงอื่นๆของ Beatles ที่จะออกมาขายทางดิจิตัลดาวน์โหลด


All For Love: อีกเพลงจาก reuinion sessions ในปี 1995 บันทึกเสียงในวันที่ 15-16 มีนาคม แต่งโดย พอล และจอร์จ ซี่งนับเป็นเพลงที่สองที่ทั้งสองร่วมมือกันแต่ง ต่อจาก In Spite Of All The Danger แต่ด้วยสาเหตุอะไรก็ไม่ทราบ เพลงนี้ถูกเก็บขึ้นหิ้งไปเรียบร้อย


Grow Old With Me: เพลงที่สามของการรียูเนียนที่ทำไม่เสร็จ จากเดโมของเลนนอนในปี 1980 เพลงนี้ออกให้ฟังครั้งแรกในอัลบั้ม Milk And Honey ของจอห์นกับโยโกะในปี 1984 พอลเคยบอกว่าเดโมของจอห์นเพลงนี้มันต้องการ 'too much work' พวกเขาก็เลยทำแท้งมันซะอีกเพลง และไม่เคยมีใครได้ยินมันอีก เวอร์ชั่นเสริมออเคสตร้าโดยจอร์จ มาร์ตินมีให้ฟังกันใน Lennon Anthology Boxset ในปี 1998

1 comment:

winston said...

ลงครั้งแรกใน oknation ข้อมูลจาก wikipedia